Page 29 - kpiebook62002
P. 29
คุกคามข้ามชาติบนพื้นฐานของความเชื่อใจซึ่งกันและกันผ่านกลไกระดับภูมิภาคที่มีอยู่ โดยไม่ถูกมองว่าเป็น
การแทรกแซงกิจการภายในหรือขาดความเคารพอ านาจอธิปไตย
เช่นเดียวกับ Caitríona H. Heinl (2014) ที่ให้ข้อเสนอแนะว่า อาเซียนควรพัฒนากลไกที่มีความ
ยืดหยุ่นที่สามารถประสานความร่วมมือทั้งในระดับอาเซียนและภูมิภาค และทั้งระหว่างรัฐและภาคเอกชนและ
วิชาการ ซึ่งกลไกดังกล่าวควรมีลักษณะถาวร มีบทบาทส าคัญในสร้างความร่วมมือภายในภูมิภาคเพื่อรับมือกับ
ภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมกันนั้นอาเซียนควรมีคณะท างานร่วมด้านนี้โดยเฉพาะ มีการ
พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้วยการฝึกฝนและการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงในเชิงลึก
Lennon Y.C. Chang (2017) ได้ท าการศึกษาภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจน
พัฒนาการความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าอาเซียนจะมีความตื่นตัวกับภัยคุกคามนี้
มากขึ้น เห็นได้จากแถลงการณ์ ข้อริเริ่ม และกลไกหารือระดับภูมิภาค แต่ยังพบว่า หลายประเทศในภูมิภาคยัง
ขาดความตระหนักถึงพิษสงของภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น เมียนมา ซึ่งผู้เขียนเสนอแนะการสร้างความ
ตระหนักภายในอาเซียนอย่างยั่งยืนด้วยการจัดท าหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ให้แก่คนในสังคมเท่าทันต่อ
ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่นี้
หยาดพิรุณ นาชัยสินธุ์ (2560) ได้ศึกษายุทธศาสตร์ของประเทศในการรับมือการก่อการร้ายทางไซ
เบอร์ โดยพบว่า แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่เป้าหมาย แต่ก็เป็นเป็นพื้นที่ที่ขบวนการก่อการร้ายใช้เคลื่อนไหว
เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างสถานการณ์ภายในภูมิภาค กอปรกับไทยยังขาดมาตรการรับมือที่รัดกุมอย่าง
เพียงพอจึงเป็นโอกาสของกลุ่มผู้ไม่หวังดีใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยโจมตีทางไซเบอร์เพื่อบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม
ผู้เขียนจึงเสนอให้ไทยมีการเตรียมความพร้อมด้วยการสร้างความตระหนักผ่านการก าหนดนโยบาย หลักสูตร
การศึกษา การสนับสนุนการวิจัยในเชิงลึก การมีหน่วยงานเจ้าภาพ กฎหมายที่มีความชัดเจนและรัดกุม และ
การสร้างความร่วมมือทั้งทางทวิภาคีและพหุภาคี
ชูเกียรติ น้อยฉิม และวรณัฐ บุญเจริญ (2557) ได้ท าการศึกษาถึงแนวทางการร่างกฎหมายด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทยผ่านมุมมองของนิติปรัชญา โดยพบว่า แม้ว่าในปัจจุบันสงครามไซเบอร์หรือ
สงครามข้อมูลข่าวสารทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่การร่างกฎหมายควรอยู่บนความประนีประนอมระหว่าง
แนวคิดของส านักกฎหมายธรรมชาติ (School of Natural Law) ที่มองมนุษย์เป็นคนมีเหตุผลและมีศักดิ์ศรี
เท่าเทียมกัน กับส านักกฎหมายบ้านเมือง (School of Positivism) ที่อ้างถึงอ านาจเด็ดขาดของรัฐในปกป้อง
คุ้มครองประชาชน หนึ่งในข้อเสนอของผู้เขียนคือ การมีระบบการคานอ านาจและตรวจสอบการท าหน้าที่ของ
เจ้าหน้าที่รัฐ
นอกจากนี้ จากการส ารวจเพิ่มเติมในงานวรรณกรรมของไทยที่เกี่ยวข้องกับภัยบนโลกออนไลน์ ส่วน
ใหญ่จะเน้นศึกษาประเด็นพฤติกรรมของเยาวชนและความรุนแรง อาทิงานของอุษา บิ้กกิ้นส์ (2555) ศึกษา
พฤติกรรมด้านเพศของวัยรุ่นบนโลกออนไลน์ โดยได้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุค
สมัย งานของอมรทิพย์ อมราภิบาล (2559) รวมด้วยงานของฤทัยชนนี สิทธิชัย และธันยากร ตุดเกื้อ (2560) ที่
[13]