Page 27 - kpiebook62002
P. 27

ยังมีการจัดประเภทโดยพิจารณาจากกรอบกฎหมาย เช่น การย้ายถิ่นแบบปกติ (regular migration) การย้าย

               ถิ่นแบบไม่ปกติ (irregular migration) เป็นต้น
                       ข้อสรุปที่น่าสนใจของ ทรงชัย ทองปาน เกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชีย

               ตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมิภาคเป็นหลัก

               โดยเมียนมาเป็นประเทศต้นทางหลัก และไทยเป็นเป็นประเทศปลายทางหลัก ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์
               ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีจ านวนผู้ย้ายถิ่นเข้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา ไทยยัง

               ถือเป็นประเทศปลายทางของการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขงโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อน

               บ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมา กัมพูชา สปป. ลาว ในขณะที่ชาวเมียนมาย้ายถิ่นออกนอกประเทศโดย
               ส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศไทย

                       Khalid Koser (2016) ได้อธิบายถึง การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ โดยเริ่มจากประเด็นว่าท าไมการย้าย

               ถิ่นจึงส าคัญ ใครคือผู้ย้ายถิ่น การย้ายถิ่นกับโลกาภิวัตน์ การย้ายถิ่นกับการพัฒนา การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ผู้ลี้
               ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ย้ายถิ่นในสังคม และอนาคตของย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ในบทที่ว่าด้วยการย้ายถิ่น

               แบบไม่ปกตินั้น เริ่มต้นด้วยการอธิบายว่าการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติคืออะไร ค าว่า “ไม่ปกติ” (irregular)

               แตกต่างจากค าว่า “ผิดกฎหมาย” (illegal) ตรงที่ผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติส่วนใหญ่ไม่ใช่อาชญากร รวมทั้งความ
               ซับซ้อนและหลากหลายของแนวคิดที่ต้องการการอธิบายให้กระจ่างด้วยความระมัดระวัง ปัญหาของการ

               วิเคราะห์การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติจากการมีข้อมูลที่ถูกต้อง ปัญหาเชิงวิธีการศึกษาในเรื่องการบันทึกข้อมูล การ

               เข้าถึงข้อมูล โดยเพาะอย่างยิ่งที่มักเป็นข้อมูลประมาณการณ์ ความท้าทายของการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติยังอยู่ที่
               จากการสร้างวาทกรรมทางการเมืองและสื่อมวลชน เช่น การมองว่าการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติก่อให้เกิดภัย

               คุกคามต่ออ านาจอธิปไตยแห่งรัฐ ส่วนการค้ามนุษย์และการลักลอบขนย้ายคนเป็นเพียงส่วนน้อยของการย้าย

               ถิ่นแบบไม่ปกติทั่วโลก แต่กลับดึงดูดความสนใจได้มาก โดยต้องแยกแยะความแตกต่างในเชิงกฎหมายระหว่าง
               การค้ามนุษย์กับการลักลอบขนย้ายคน จ านวนที่มีการบันทึกนั้นก็มาจากผู้ที่ถูกพบและยอมรับว่าถูกลักลอบขน

               ย้ายมาหรือโดนค้ามนุษย์ซึ่งยังมีอีกจ านวนมากที่เจ้าหน้าที่ไม่ทราบ ต้นทุนของการย้ายถิ่นจากการค้ามนุษย์และ

               ลักลอบขนย้ายคนซึ่งต้นทุนมีแนวโน้มค่อยๆ ลดลงเพราะมีการแข่งขันกันมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง
               วิธีการขนส่ง จ านวนคนที่ร่วมเดินทาง

                       เมื่อพิจารณาในมุมระบบการอภิบาลด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงและที่กว้าง

               ออกไปนั้น Mely Caballero-Anthony (2018) เสนอเกี่ยวกับระบบการอภิบาลการย้ายถิ่น (Governance
               on Migration) เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงความหลากหลายของการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกทั้งที่เป็นแรงงาน

               ย้ายถิ่นปกติ และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติและถูกบังคับทั้งการค้ามนุษย์และผู้ลี้ภัย การท าให้การย้ายถิ่นเป็น

               เรื่องความมั่นคงด้วยระบอบกฎเกณฑ์การย้ายถิ่นระดับภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการ
               คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานย้ายถิ่น อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและ

               เด็ก (ACTIP) การประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ าโขงเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์

               (COMMIT) กระบวนการบาหลีว่าด้วยการลักลอบขนย้ายคน การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่




                                                           [11]
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32