Page 25 - kpiebook62002
P. 25

โดยเฉพาะปัญหาส าคัญอย่างยาเสพติด การลักลอบเข้าเมือง/แรงงานผิดกฎหมาย และการท าลาย

               ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีผลให้การด าเนินความร่วมมือในระดับทางการค่อยข้างพบอุปสรรค ดังนั้นกลไกการ
               แก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการของคนในพื้นที่ เช่น ภาคธุรกิจและประชาสังคมจึงมีโอกาสประสบความส าเร็จ

               ในการสร้างความร่วมมือมากกว่า ทั้งนี้ คณะผู้เขียนเสนอว่า ไทยจ าเป็นต้องพัฒนาความร่วมมือด้านความ

               มั่นคงรูปแบบใหม่อย่างรอบด้านทั้งในระดับพื้นที่ การกระชับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การสนับสนุน
               องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมทั้งการถ่วงดุลอ านาจระหว่างชาติมหาอ านาจในพื้นที่เพื่อลดความกังวลในการถูกครอบง า

               ภายในภูมิภาคอันมีผลต่อการพัฒนาความร่วมมือ

                       ศาสนีย์ ศรศิลป์ (2561) ได้ศึกษาการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของไทยใน
               การจัดปัญหาประเด็นการก่อการร้าย พบว่า ไทยมีหน่วยงานด้านความมั่นคงที่มีพันธกิจด้านการจัดการกับการ

               ก่อการร้ายในหลายมิติและหลายกระทรวง ซึ่งส่วนใหญ่มีความร่วมมือเป็นครั้งคราวจากโครงการอย่างเป็น

               ทางการ ผู้เขียนจึงเห็นว่า การจัดตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติจะช่วยให้การจัดการด้านความมั่นคงของ
               ประเทศ อันรวมถึงความมั่นคงรูปแบบใหม่มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น อีกทั้งยังรวมถึงการสร้างเครือข่ายความ

               ร่วมมือด้านความมั่นคงทั้งระหว่างส่วนกลาง ท้องถิ่น ภาคประชาชน และภาควิชาการ อันเป็นการบูรณาการ

               ความร่วมมือส าหรับจัดการกับปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพในโลกยุคปัจจุบัน


               ไทยกับการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ

                       กิตติ์ธนทัต เลอวงศ์รัตน์ (ก าลังจัดพิมพ์) น าเสนอความสัมพันธ์ระหว่างการค้ามนุษย์กับอาชญากรรม
               ข้ามชาติในเชิงนโยบายสาธารณะโดยพิจารณาตั้งแต่เครื่องมือและกลไกในระดับสากล ระดับภูมิภาค แนว

               ทางการป้องกันและปราบปรามในบริบทโลก จนมาถึงการป้องกันและปราบปรามของประเทศไทย เครื่องมือ

               และกลไกในระดับสากลที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ซึ่งควรมุ่งให้ความส าคัญ ได้แก่ พิธีสาร 3 ฉบับ ประกอบด้วย
               (1) พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะการค้าหญิงและเด็ก (2) พิธีสารเพื่อ

               ต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นทางบก ทางทะเล และอากาศ และ (3) พิธีสารเลือกรับอนุสัญญาว่าด้วย

               สิทธิเด็ก การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก และอนุสัญญา 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาว่า
               ด้วยเรื่องการค้าบุคคลและการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นโสเภณีของผู้อื่น และอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องการ

               คุ้มครองสิทธิแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิกครอบครัว ส่วนเครื่องมือและกลไกในระดับภูมิภาค ได้แก่ บันทึก

               ข้อตกลงเรื่องการประสานการด าเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์อนุภูมิภาคแม่น้ าโขง แผนปฏิบัติการอาเรียต
               (ARIAT) แถลงการณ์ร่วมการประชุมบาหลี แผนปฏิบัติการอาเซมเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้า

               หญิงและเด็ก บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง

               ความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและหญิงและการช่วยเหลือของการค้ามนุษย์ ส่วนแนวทางการ
               ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในบริบทโลกก็ยึดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์

               (Trafficking Victims Protection Act 2000: TVPA) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย การด าเนินคดี

               (Prosecution) การป้องกัน (Prevention) และการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ (Protection) โดยที่กระทรวง




                                                           [9]
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30