Page 20 - kpiebook62002
P. 20
เหตุการณ์การขุดพบหลุมศพและโครงกระดูกในค่ายกักกันของขบวนการค้ามนุษย์บริเวณชายแดนไทย-
มาเลเซีย
ที่กล่าวมานี้จึงเป็นโจทย์ส าคัญส าหรับอาเซียนและโดยเฉพาะประเทศไทย ด้วยการกลับมาทบทวนถึง
สภาพปัญหาและเงื่อนไขในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาสมรรถนะของไทย และแสวงหาแนวทางของรัฐสมาชิก
อาเซียนเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงในรูปแบบใหม่เช่นนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security)
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security) เป็นภัยคุกคามที่มาพร้อมกับความทันสมัยของ
เทคโนโลยีและโทรคมนาคม ซึ่งอาชญากรและผู้ไม่หวังดีใช้แสวงหาประโยชน์จากช่องโหว่ระหว่างข้อบังคับ
กฎหมายกับความก้าวหน้าของวิทยาการ ในปัจจุบันไทยมีการเชื่อมโยงทางด้านดิจิทัลกับนานาประเทศ
ประกอบกับการพึ่งพาระบบดิจิทัลในการสร้างความมั่นคง ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงทาง
สังคม ท าให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการถูกคุกคามทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งจากสถิติปี 2016 ของศูนย์
ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (ThaiCERT) พบว่า มีการแจ้งเหตุ
ภัยคุกคามมากกว่า 3,700 เรื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ทั้งการใช้โปรแกรม
ซอฟต์แวร์ที่หวังผลไม่พึงประสงค์ต่อผู้ใช้หรือระบบ (malicious code) การบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ และการ
หลอกลวงและฉ้อโกงผ่านระบบการสื่อสาร อันสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซ
เบอร์ที่ขยับขยายจากเน้นโจมตีเทคโนโลยีสื่อสารแบบดั้งเดิมมาสู่การสื่อสารสมัยใหม่ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น
(อรรคเดช ประทีปอุษานนท์ และธาราทิพย์ กัลยาณมิตร, 2560) ซึ่งไม่เพียงกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่ยังรวมถึงความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศอีกด้วย ส าหรับประเทศไทยได้มี
การยกระดับกฎระเบียบและกลไกเพื่อให้เท่าทันความคิดความอ่านของมิจฉาชีพ เช่น การปรับปรุง พ.ร.บ.ว่า
ด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 การริเริ่มจัดตั้งศูนย์ไซเบอร์อาเซียน แต่ยังพบกับ
อุปสรรคที่มาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ล้ าสมัย และความละเอียดอ่อนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโลก
ไซเบอร์ซึ่งมักถูกตีความว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน
กล่าวได้ว่า ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้คนใช้ชีวิตในโลกโซเซียลมากขึ้น อันเป็นผลการจากปฏิวัติ
ด้านการสื่อสารคมนาคมก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดนที่มีทั้งผลดีและผลเสีย อีกทั้งความส าคัญของระบบสื่อสารไร้
สายที่ทันสมัยยังเห็นได้จากการเป็นเครื่องมือของภาคการเมือง ธุรกิจ และประชาสังคมในการบรรลุเป้าหมาย
ของตน แต่นั้นก็เป็นโอกาสของผู้ไม่หวังดีในการแสวงโอกาสผ่านช่องโหว่และความไม่เท่าทันต่อกระแสการ
เปลี่ยนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว น าไปสู่การก่ออาชญากรรมข้ามชาติที่ส่งผลกระทบ
ทั้งต่อระดับปัจเจกชนและรัฐ-ชาติ โครงการวิจัยนี้จึงเป็นการผสานระหว่างข้อเสนอของ Acharya กับประเด็น
ที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างการสร้างความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คน
ในยุคปัจจุบัน กล่าวคือ โครงการวิจัยนี้จะท าการศึกษาในประเด็นการค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างขีดความสามารถ
[4]