Page 18 - kpiebook62002
P. 18
งานวิจัยนี้ จึงเลือกท าวิจัยใน 3 ประเด็น ได้แก่ การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และ
อาชญากรรมไซเบอร์ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ทวีความส าคัญมากขึ้น และเกี่ยวข้องกับประเทศไทยเป็นอย่าง
มาก ส าหรับประเด็นการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เป็นภัยคุกคามข้ามชาติที่มีผลกระทบต่อ
ภูมิภาคอย่างมากมาตลอดสองทศวรรษที่ผ่าน โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความรุนแรงในรัฐยะไข่
กลายเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติที่ไม่เพียงเป็นปัญหาระดับภูมิภาค
เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ขณะเดียวกันอาชญากรรมผ่านโลกไซเบอร์ก็เป็น
ประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและส่งผลกระทบต่อปัจเจก
ชนที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ การศึกษาภัยคุกคามเหล่านี้ สามารถเป็นส่วนส าคัญใน
การเสริมสร้างสมรรถนะในการรับมือภัยคุกคามเหล่านี้ผ่านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะสังเคราะห์ได้จาก
โครงการวิจัยนี้
การค้ามนุษย์ (human trafficking) และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ (irregular migration)
การค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติเป็นความท้าทายและสามารถพัฒนากลายเป็นภัยคุกคามต่อ
การเป็นประชาคมอาเซียนที่เริ่มต้นในปี 2015 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมุ่งให้
เกิดการย้ายถิ่นได้โดยเสรีของปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้งคน สินค้า บริการ ทุน แม้ว่าการเคลื่อนย้ายของคนนั้น
อาเซียนจะยังมุ่งจ ากัดอยู่แต่เฉพาะแรงงานที่มีทักษะ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้คนในอาเซียนได้เคลื่อนย้ายกัน
ไปมามากขึ้นซึ่งจ านวนมากอยู่นอกการก ากับดูแลของรัฐ และย่อมกลายเป็นปัญหาด้านความมั่นคงในรูปแบบ
ใหม่ของอาเซียนได้
ข้อมูลของส านักกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UNDESA) ชี้ว่าจ านวนผู้ย้ายถิ่น
ระหว่างประเทศภายในภูมิภาคจากประเทศอาเซียนด้วยกันเพิ่มขึ้นจาก 4.5 ล้านคนในปี 2005 เป็น 6 ล้านคน
ในปี 2010 เพิ่มขึ้นเป็น 6.9 ล้านคน และ 6.8 ล้านคนในปี 2015 และปี 2017 มากกว่า 2 ใน 3 ของจ านวนผู้
ย้ายถิ่นระหว่างประเทศทั้งหมด (United Nations, 2017)
ในภาพรวมระดับภูมิภาค อาเซียนพยายามจัดการกับประเด็นต่างๆ ทั้งการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่น
แบบไม่ปกติดังปรากฏในรูปแบบปฏิญญาและแผนปฏิบัติการต่างๆ มาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ได้แก่ ปฏิญญา
อาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Declaration on Transnational Crime) ค.ศ. 1997 ซึ่งรัฐ
สมาชิกให้สัญญาที่จะต่อสู้กับการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ ริเริ่มที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียน
ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime: AMMTC) และพัฒนา
เป็นแผนปฏิบัติการใน ค.ศ. 1999 แผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action) ค.ศ. 1998 ซึ่งมุ่ง
ด าเนินการตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) โดยรับรองการใช้มูลนิธิอาเซียน (ASEAN
Foundation) สนับสนุนโครงการที่จัดการประเด็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมและการเสริมสร้าง
การท างานร่วมกันในอาเซียนเพื่อต่อสู้การค้าสตรีและเด็ก (Human Rights in ASEAN, 2017)
[2]