Page 17 - kpiebook62002
P. 17

บทน า




               ที่มาและความส าคัญของปัญหา



                       โลกในศตวรรษที่ 21 ได้ก้าวสู่การเป็นโลกไร้พรมแดนมากขึ้น จากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และ
               เทคโนโลยี การขยายตัวของการค้าและการเงิน และการคมนาคมที่ท าให้การเคลื่อนย้ายของมนุษย์ง่ายขึ้น ซึ่ง

               ในด้านหนึ่งท าให้สังคมมนุษย์มีความสะดวกสบาย และมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน (interdependence)

               มากขึ้น  แต่ในอีกด้านหนึ่งก็น ามาซึ่งปัญหาใหม่ที่เรียกว่าเป็น ภัยคุกคามจากความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non-
               Traditional Security: NTS) ที่ไม่ใช่ภัยคุกคามทางการทหาร แต่มีรูปแบบที่หลากหลาย สามารถแพร่กระจาย

               ได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อสังคมและผู้คนอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ

               ภูมิอากาศ การขาดแคลนและแย่งชิงทรัพยากร โรคระบาด ภัยธรรมชาติต่างๆ การย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
               การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความ

               ปกติสุขและความอยู่รอดของประชาชนและรัฐ

                       ความมั่นคงในรูปแบบใหม่นี้ มักมีลักษณะข้ามชาติ (transnational) จากตัวกระท าการ (actors) ที่
               หลายหลาย ซึ่งรัฐ-ชาติไม่สามารถจัดการกับปัญหารูปแบบใหม่เหล่านั้นได้โดยล าพัง แต่จ าเป็นที่จะต้องความ

               ร่วมมือระหว่างรัฐ และมีการแก้ไขปัญหาที่รอบด้านทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนปฏิบัติการ

               ทางมนุษยธรรมของทหาร (humanitarian use of military force)
                       ในปัจจุบัน ประเทศไทยก าลังก้าวเข้าสู่การปฏิรูปประเทศในหลายๆ ด้าน จึงกล่าวได้ว่า หนึ่งในความ

               ท้าทายของประเทศไทยในการปฏิรูปประเทศคือ การเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนที่มาจากความมั่นคง

               รูปแบบใหม่ จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภัยคุกคามจากความมั่นคงรูปแบบใหม่นี้
                       จากรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเรื่อง “Non-Traditional Challenges: Thailand and

               Regional Cooperation” โดย Amitav Acharya ได้เสนอแนะการต่อยอดการวิจัย เพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อภัย

               คุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ให้มากขึ้น อันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการยกระดับขีดความสามารถในการ
               รับมือภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Acharya ได้ให้ข้อเสนอแนะ 3 ประการ คือ

               ประการแรก ควรท าการวิจัยความมั่นคงรูปแบบใหม่อื่นๆ นอกเหนือจากการก่อการร้ายและภัยธรรมชาติที่เขา

               ได้ท าการวิจัยไว้แล้ว ประการที่สอง ให้ความส าคัญกับการท าวิจัยเพื่อน าไปปฏิบัติทั้งระดับชาติและภูมิภาค อัน
               เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานในการรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ และ

               ประการที่สาม มุ่งเน้นการท าวิจัยเพื่อพัฒนาและสรรค์สร้างมาตรการเชิงนโยบายเพื่อยกระดับขีดความสามารถ

               ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ และเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคในการรับมือกับภัยคุกคาม
               ความมั่นคงรูปแบบใหม่




                                                           [1]
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22