Page 21 - kpiebook62002
P. 21
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศและความร่วมมือในระดับภูมิภาค ผ่านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็น
ข้างต้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) ศึกษาประเด็นภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพราะเป็นประเด็นที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
2) ศึกษาความร่วมมือในระดับอาเซียน เนื่องจากภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ถือเป็นประเด็นที่มี
ความคาบเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศ
เพื่อนบ้าน
3) ศึกษาแนวทางการจัดการภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่จากต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเป็น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่การพิจารณาประยุกต์ใช้ต่อไป
แนวทางการด าเนินงานวิจัย
กรอบแนวคิดในการศึกษาภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ในโครงการวิจัยนี้จะใช้กรอบแนวคิดของ
Amitav Acharya (2018) ที่ได้อธิบายในรายงานเรื่อง “Non-Traditional Challenges: Thailand and
Regional Cooperation” โดยได้แบ่งลักษณะเด่น 6 ประการของภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ ได้แก่
ประการแรก เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้มาจากอ านาจทางทหาร
ประการที่สอง มักเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว (กรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าจะมีการ
คาดการณ์ล่วงหน้า แต่มักจะสร้างความเสียหายแบบคาดไม่ถึง)
ประการที่สาม เป็นภัยคุกคามในลักษณะข้ามชาติ คือ เป็นภัยคุกคามที่ไม่ใช่ปัญหาแค่ภายในประเทศ
หรือระหว่างประเทศเท่านั้น
ประการที่สี่ มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์และการปฏิวัติด้านการสื่อสาร
โทรคมนาคม
ประการที่ห้า ในหลายกรณีพบว่า การแก้ไขปัญหาโดยล าพังไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคาม
ความมั่นคงรูปแบบใหม่ จ าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือแบบพหุภาคีและระดับภูมิภาค
-ประการที่หก เป้าหมายของการสร้างความมั่งคง/ปลอดภัยไม่ใช่แค่รัฐอีกต่อไป (อ านาจอธิปไตยหรือ
บูรณภาพแห่งดินแดน) แต่รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี ความอยู่รอด และศักดิ์ศรีของประชาชน
สอดคล้องกับมุมมองของ Mely Caballero-Anthony (2008) ที่กล่าวถึงลักษณะของภัยคุกคามความ
มั่นคงรูปแบบใหม่ไว้ว่า เป็นความท้าทายต่อความอยู่รอดและความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งรัฐและประชาชน ไม่ได้
เป็นผลมาจากอ านาจทางทหาร เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด
[5]