Page 24 - kpiebook62002
P. 24
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2564 มี 16 นโยบายแบ่งเป็นสองส่วนคือ นโยบายความ
มั่นคงที่เป็นแก่นหลักกับนโยบายทั่วไป ซึ่งความมั่นคงรูปแบบใหม่หลายประเด็นได้รับการจัดเป็นนโยบายที่มี
ล าดับส าคัญในส่วนของนโยบายทั่วไป ได้แก่ นโยบายที่ 5 การเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ภัยคุกคามข้ามชาติ นโยบายที่ 7 ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง นโยบายที่ 9 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน นโยบายที่ 10
ความมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ นโยบายที่ 11 ความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และนโยบายที่ 12 ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร เป้าหมายคือ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
ด้วยการสร้างความมั่นคงปราศจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์เป็น
ปัจจัยหลักที่ไทยหันมาให้ความส าคัญกับการสร้างความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่
(ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2558)
คมสัน สุขมาก (2559) ศึกษาข้อจ ากัดในการพัฒนาความร่วมมือด้านการข้ามแดนในกลุ่มอาเซียนที่มี
ผลต่ออาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งการศึกษาแนวทางความร่วมมือของสหภาพยุโรปเพื่อน ามาปรับใช้ใน
อาเซียน ซึ่งมีข้อเสนอแนะในเชิงนิติศาสตร์ว่า ไทยควรมีกรอบความร่วมมือบนพื้นฐานของสนธิสัญญาด้านการ
ข้ามแดนกับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน ข้อเสนอแนะด้านนโยบายคือ การให้ส านักงานต ารวจแห่งชาติเป็น
เจ้าภาพและมีการจัดท าฐานข้อมูลระหว่างประเทศ มีนโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่สอดคล้องกับระเบียบสากล
เช่น การปรับปรุง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ชิตพล กาญจนกิจ (2559) ศึกษาความท้าทายของอาเซียนในการรับมืออาชญากรรมข้ามชาติ พบว่า
ในปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่เผชิญปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติอันเป็นผลจากการ
เปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยี คมนาคมขนส่ง และเสรีภาพด้านการค้า
และการเงิน อันมีผลกระทบต่อความรุ่งเรืองของประเทศโดยตรง ซึ่งผู้เขียนเห็นการร่วมมือระหว่างรัฐทั้งใน
ระดับทวิภาคีและพหุภาคีเป็นทางเลือกที่เหมาะสมส าหรับการจัดการปัญหาข้ามชาติ เพราะแต่ละรัฐยังคงมี
ความท้าทายที่เป็นอุปสรรคต่อการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหาคอร์รัปชัน การขาด
การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน การยึดมั่นต่ออ านาจอธิปไตย การขาดองค์ความรู้ ดังนั้นการช่วยเหลือซึ่งกัน
และกันระหว่างรัฐ โดยเฉพาะการถ่ายทอดองค์ความรู้และช่วยเหลือด้านงบประมาณจากรัฐที่มีศักยภาพ
มากกว่าจะท าให้การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติมีความยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ด้าน
ความร่วมมือกระบวนการยุติธรรมในอาเซียน ได้แก่ การพัฒนากลไกความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรม
การพัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมายและการบริหารจัดการ และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรใน
กระบวนการยุติธรรม
ภูมิใจ เลขสุนทรากร ปิยะนุช ปี่บัว และศิวลีย์ สิริโรจน์บริรักษ์ (2560) ได้ศึกษาปัญหาความมั่นคง
รูปแบบใหม่ของไทย ในประเด็นการร่วมมือระหว่างไทย สปป. ลาว และเมียนมาเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความ
มั่นคงรูปแบใหม่ตามเส้นทางเชียงราย-หลวงน้ าทา-สิบสองปันนา-เชียงตุง หรือเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-
ใต้ (North-South Economic Corridor) เนื่องจากการแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่จ าเป็นต้องอาศัย
ความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยพบว่า ทั้งสามประเทศมีมุมมองที่แตกต่างกันในแต่ละประเด็นปัญหา
[8]