Page 44 - kpiebook62002
P. 44

บทที่ 2




                                                ไทยกับปัญหาการค้ามนุษย์



                       การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่ไทยเริ่มให้ความส าคัญไปพร้อมกับความพยายามของนานาชาติโดยการน า
               ของสหรัฐอเมริกาในการจัดการปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2001 จนถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษแล้วที่ไทย

               เผชิญความท้าทายในการจัดการปัญหาดังกล่าว ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561–2580 (ค.ศ. 2018–

               2037) (2561) ของประเทศไทยถือว่าการค้ามนุษย์เป็น “ปัญหาความมั่นคงในปัจจุบัน” ที่เกิดขึ้นได้จากการ
               รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:

               AEC) ที่น าไปสู่ความเชื่อมโยงในทุกระบบซึ่งเริ่มต้นมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ ค.ศ. 2015 และเป็นมิติหนึ่งหรือหนึ่ง

               ในสามเสาหลักของการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
                       ใน “ร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง” (2561) การค้ามนุษย์เป็น “ปัญหาเก่า” ที่ต้องการแก้ไข

               อย่างจริงจังจนหมดไปไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ โดยในช่วง 10 ปี (ค.ศ. 2027–2036) ตั้งเป้าหมายให้

               ปัญหาอย่างการค้ามนุษย์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง “ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่ส่งผลกระทบต่อการ
               บริหารประเทศ” ส าหรับเป้าหมายในระดับระหว่างประเทศ คือ ประเทศมีบทบาท “เป็นที่ชื่นชมและได้รับการ

               ยอมรับโดยประชาคมระหว่างประเทศในด้านการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค” ในช่วง ค.ศ.

               2027–2031 จนถึงขั้น “มีส่วนร่วมในการก าหนดทิศทางและส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค และมีอ านาจ
               ต่อรองเพื่อรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของชาติ อันส่งผลให้ไทยและภูมิภาคมีความสงบก้าวหน้า ตลอดถึงมี

               ความสัมพันธ์ที่ดีรอบด้านจนเอื้อต่อความเจริญและความมั่นคงของชาติในทุกรูปแบบ” ในช่วง ค.ศ. 2032–

               2036
                       ทิศทางการจัดการการค้ามนุษย์ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากลไก

               การบริหารจัดการความมั่นคงแบบบูรณาการ มุ่งสร้างความพร้อมส าหรับการติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือน

               ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความมั่นคงแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม ได้ทุกรูปแบบของปัญหาทุกช่วงเวลา
               อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และมีเอกภาพ โดยพัฒนาปรับปรุงกลไกและกฎหมายที่มีอยู่หรือที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่ง

               ต้องการการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ ผนึกก าลังคนและทรัพยากรให้มีส่วน

               ร่วมแบบบูรณาการ ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานหลักและรองในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และช่วยเหลือ
               ประชาชน (“ร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง,” 2561)



               2.1 สภาพปัญหา


                       การค้ามนุษย์เป็น “ปัญหา” ที่ประเทศไทยเริ่มถูกติดตามตรวจสอบมาตั้งแต่ ค.ศ. 2001 หลังจาก
               ประชาคมระหว่างประเทศได้นิยาม “การค้ามนุษย์” อย่างชัดเจนขึ้นในพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติ





                                                           [28]
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49