Page 48 - kpiebook62002
P. 48
ภาพที่ 2.1 การจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยใน TIP Report ค.ศ. 2001–2018
2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่ 2
*
กลุ่มที่ 2 WL
กลุ่มที่ 3
* กลุ่มที่ 2 WL หมายถึง กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง
หมายเหตุ: จากภาพใน Trafficking in Person Report, June 2010 (p. 321), by United States,
Department of State, 2010, Washington, D.C.: U.S. Department of State และ Trafficking in
Persons Report, June 2018 (p. 414), by United States, Department of State, 2018,
Washington, D.C.: U.S. Department of State.
ช่วงที่ 2 ปรับกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณีใน UNTOC และ UN TIP Protocol ค.ศ.
2008–2015 ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 (ค.ศ.
2008) แทนพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 (ค.ศ.
1997) แต่ยังไม่ได้ด าเนินการเต็มที่ ไม่มีระบบ และขาดความเข้าใจหลักการในกฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อ
จากการค้ามนุษย์และความรุนแรง (TVPA) ค.ศ. 2000 ของสหรัฐอเมริกา หน่วยงานต่างๆ ยังไม่มีระบบในเรื่อง
นี้ ประกอบกับผลพวงจากช่วงที่ 1 ที่ไทยยังไม่มีทิศทางในการด าเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างชัดเจน
ส่งผลให้การจัดอันดับไทยในรายงานการค้ามนุษย์ในช่วงนี้เริ่มตกอันดับจากกลุ่มที่ 2 ในปี 2009 มาเป็นกลุ่มที่
2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองถึง 4 ปีต่อเนื่องในปี 2010-2013
ในปี 2014 สถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายสุดโดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3
ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปฏิบัติของรัฐที่ส่งผลในทางลบ เช่น การที่เรือของกองทัพไทยลากเรือผู้เข้าเมืองให้
ออกไปนอกชายฝั่งของไทย (สุณัย ผาสุข, 2560) การฟ้องผู้สื่อข่าวอย่างกรณีเว็บไซต์ข่าวภูเก็ตหวาน ทัศนคติ
ของเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดการปัญหา (United States, Department of State, 2014, pp. 373–376;
[32]