Page 53 - kpiebook62002
P. 53

แรงงาน ออกมาเตือนถึงภัยสังคมรูปแบบใหม่นี้ตั้งแต่ปี 2007 (“ภัยสังคมรูปแบบใหม่ส่งเป็นแรงงานประมง,”

               2550)
                       หลังจากเป็นที่รู้กันในหมู่แรงงานไทยเป้าหมายจึงเบี่ยงไปเป็นแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน

               โดยมีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ไต้ก๋งเรือ (หรือผู้ควบคุมเรือ) นายหน้า ส าหรับนายหน้านั้นแบ่งเป็น 3

               ประเภท ได้แก่ นายหน้านกต่อ อยู่ตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ ท าหน้าที่หลอกล่อเหยื่อ นายหน้าพักแรงงาน
               เป็นผู้จัดเตรียมที่พักส าหรับรอให้เหยื่อครบตามจ านวนที่ไต้ก๋งต้องการแล้วส่งไปยังท่าเรือต่างๆ สุดท้าย คือ

               นายหน้าท่าเรือ (“เส้นทางใบสั่งค้ามนุษย์ เรือประมง,” 2552) จากการเก็บข้อมูลขององค์การนอกภาครัฐอย่าง

               มูลนิธิกระจกเงาพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ดังกล่าวด้วย (“แฉขบวน
               การค้ามนุษย์ ‘แรงงานประมง,’ 2551) แรงจูงใจส าคัญที่ท าให้มีนายหน้าค้ามนุษย์เกิดขึ้นเป็นจ านวนมาก

               โดยเฉพาะผู้ที่จัดหาเรือประมงนั้น คือ รายได้จากการค้ามนุษย์ที่ค่อนข้างสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท นายหน้าได้

               ค่าตอบแทนจากแรงงานต่างชาติอยู่ที่ 1.5–2 หมื่นบาทต่อหัว และจากเจ้าของเรืออีก 3 หมื่นบาทต่อหัว (“ค้า
               มนุษย์5หมื่นล.ออกเรือประมงโหด,” 2555)

                       ในรายงานการค้ามนุษย์ของไทยที่ส่งให้สหรัฐใน ค.ศ. 2013 นั้น ประเด็นที่สหรัฐจับตามองเป็นพิเศษ

               คือ กลุ่มแรงงานประมง (“แรงงานการค้ามนุษย์ปี 2556,” 2557) ขณะเดียวกันกรรมาธิการยุโรปด้านประมง
               และทะเลของสหภาพยุโรป (EU) แจ้งเตือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเรื่องการขาดมาตรการที่เพียงพอใน

               การต่อสู้กับการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and

               Unregulated Fishing: IUU Fishing) เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อม โดยสหภาพยุโรปให้
               ความเห็นว่าประเทศไทยต้องพัฒนาระบบควบคุมการท าประมงแบบ IUU ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในด้าน

               กฎหมายและการด าเนินมาตรการบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ แม้ว่า IUU จะไม่ได้ระบุถึงมาตรการลงโทษ

               เกี่ยวกับปัญหาแรงงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์โดยตรงก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ส าคัญอย่างยิ่งต่อ
               สถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมประมงระหว่างไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

                       ในวันที่ 8 มีนาคม 2018 สหภาพยุโรปจ้างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ให้เข้ามาส ารวจ

               ปัญหาที่เกิดขึ้นในแรงงานประมงไทยอีกครั้งหนึ่ง พบว่า การแก้ปัญหาหลายๆ อย่างดีขึ้น แต่ 1 ใน 3 ของ
               แรงงานยังได้ค่าจ้างต่ ากว่าค่าแรงขั้นต่ า ช่องว่างระหว่างรายได้ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายค่อนข้างสูง โดยแรงงาน

               หญิงเกินกว่าครึ่งได้รับค่าจ้างต่ ากว่าค่าแรงขั้นต่ า (“สิทธิประมงไทยดีขึ้น,” 2560) ยังคงมีการยึดเอกสาร

               ประจ าตัวของแรงงานไว้กว่าร้อยละ 24 เพื่อป้องกันการหลบหนี อีกทั้งบางคนให้ข้อมูลว่าต้องรอนานกว่าจะได้
               ค่าจ้าง (“ชี้แก้ปัญหาแรงงานประมงไทย,” 2561) นี่เป็นสภาพที่แรงงานประมงต้องพบเจอเมื่อตกไปเป็นเหยื่อ

               ของกลุ่มค้ามนุษย์ในแรงงานประมง ต่อมาในวันที่ 8 มกราคม 2019 สหภาพยุโรปได้ประกาศปลดสถานะ

               ใบเหลืองของภาคประมงไทย เพื่อแสดงการยอมรับต่อความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาการท าประมงผิด
               กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ของไทย ซึ่งมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องนับแต่

               ไทยได้รับสถานะ “ใบเหลือง” เมื่อปี 2015 จนประสบความส าเร็จในการยกระดับอุตสาหกรรมการประมงของ

               ไทยทั้งระบบเทียบเท่ามาตรฐานสากลในปัจจุบัน (กระทรวงการต่างประเทศ, 2562ก) รัฐยังสามารถลดอุปสงค์




                                                           [37]
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58