Page 55 - kpiebook62002
P. 55
อาชญากรที่ค้ามนุษย์ ซึ่งมีลักษณะท ากันเป็นขบวนการ มีการปลอมการตรวจลงตรา และผู้ค้าบริการทางเพศ
จะต้องจ่ายค่าปลอมการตรวจลงตรากว่า 1 ล้าน 4 แสนบาท และย้ายไปตามซ่องต่างๆ อยู่ตลอด ในเดือน
เมษายน ค.ศ. 2018 หญิงไทยถูกต ารวจเยอรมันจับกุมตัวและถูกระบุว่าเป็นผู้ลักลอบน าเหยื่อเข้าไปที่นั่น
(“เยอรมนีบุกซ่องบังคับค้าประเวณี,” 2561) นอกจากนั้นยังมีกรณีคล้ายๆ กันที่ท ากันเป็นขบวนการเพื่อไปค้า
บริการทางเพศยังรัฐอื่นอีกด้วย
อาชีพค้าบริการทางเพศนี้นอกจากผู้ค้าบริการทางเพศ ปัจจุบันยังพบเห็นแรงงานต่างด้าวจากประเทศ
เพื่อนบ้านหันมาค้าบริการทางเพศเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่คนไทยส่วนใหญ่หันมาค้าบริการทาง
เพศผ่านแอปพลิเคชัน LINE แทนการค้าบริการทางเพศผ่านสถานบริการอาบอบนวดเหมือนในสมัยก่อน เพื่อ
จะได้ไม่ต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์หรือโดนหักค่านายหน้า จึงท าให้สถานบริการอาบอบนวดน าผู้ค้าบริการจาก
ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาแทนที่ (นริศรา คินิมาน, 2561) ดังกรณีในจังหวัดระนองที่พบเด็กหญิงชาวเมียนมา
อายุ 12–16 ปี ค้าบริการตามตรอกซอกซอยต่างๆ อีกทั้งยังแฝงอยู่ตามสถานบริการอาบอบนวด ส่วนใหญ่ให้
เหตุผลว่าเป็นงานสบายได้รับค่าตอบแทนสูงอยู่ที่วันละ 500–1,000 บาท แต่การค้าบริการทางเพศของของ
แรงงานต่างด้าวก็ก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น (“ค้ามนุษย์5หมื่นล.ออกเรือประมงโหด,” 2555)
การค้ามนุษย์ภายใต้การค้าประเวณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสิ่งที่จะ
จัดการให้หมดไปได้ยาก ปัญหานี้ผลกระทบหลากหลายทั้งการเป็นแหล่งอาชญากรรมสังคม ท าลายศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ ขัดต่อศีลธรรมและประเพณีอันดีงาม น าไปสู่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรณีที่เหยื่อเป็นเด็ก
ยังส่งผลท าลายทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้ (อ านวย ยัสโยธา, 2541, น. 185)
3. การใช้แรงงานเด็กและผู้หญิงที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์
การใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ ากว่ากฎหมายก าหนดและแรงงานรับใช้ในบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็น
แรงงานต่างด้าวเด็กและผู้หญิงจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นอีกปัญหาหนึ่งของการค้ามนุษย์ซึ่งพอจัดได้ว่ามี
ความรุนแรงในระดับต่ ากว่าปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงและการค้าประเวณี
การใช้แรงงานเด็กในบ้านเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เด็กผู้หญิงจะถูกใช้ให้ท างานบ้าน
ตามประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมที่เห็นว่า งานบ้านนั้นเป็นหน้าที่ของลูกผู้หญิงในครอบครัวตั้งแต่เยาว์วัย
ดังนั้นเมื่อผู้หญิงก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน งานรับใช้ในบ้านจึงเป็นอีกงานหนึ่งที่ผู้หญิงต้องถูกส่งไปท าหรือต้อง
เลือกจะท า จากการศึกษาวิจัยเรื่องแรงงานเด็กรับใช้ในประเทศไทย โดยสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ และ พยงค์
ศรี ขันธิกุล (2548, น. 5) พบว่า มักเป็นแรงงานเด็กต่างด้าวโดยเฉพาะชาวเมียนมาและชาวลาว แรงงานเด็ก
รับใช้ตามบ้านแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) งานบ้าน เช่น การท าความสะอาดบ้าน งานซักรีด งานครัว
และการดูแลสัตว์เลี้ยง (2) งานดูแลเด็กและคนชราในบ้าน และ (3) งานเกี่ยวกับกิจการภายในบ้าน เช่น การ
ท าขนมขาย เฝ้าหน้าร้าน ขายของหน้าร้าน บริการในร้านอาหาร งานในอู่ซ่อมรถ เป็นต้น (ศิบดี นพประเศริฐ,
2553, น. 18)
[39]