Page 51 - kpiebook62002
P. 51
การจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยในรายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) ขึ้นอยู่กับ
จังหวะเวลาในการจัดท ารายงานและนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแต่ละสมัย ในการจัดเตรียม TIP
Report โดยส านักงานเพื่อตรวจสอบและต่อสู้กับการค้ามนุษย์ (Office to Monitor and Combat
Trafficking in Persons: TIP Office) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกานั้น กระทรวงการ
ต่างประเทศฯ ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งสถานทูตสหรัฐอเมริกา การประชุมกับเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศต่างๆ
ผู้แทนองค์การนอกภาครัฐทั้งท้องถิ่นและระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ นักข่าว รายงาน
เผยแพร่ ข่าวหนังสือพิมพ์ งานศึกษาทางวิชาการ ผู้รอดชีวิต การเดินทางไปค้นคว้าในทุกภูมิภาคของโลก และ
ข้อมูลจากองค์การหรือบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรัฐบาลในการจัดการการค้ามนุษย์โดย
ส่งมาทางอีเมล [email protected] (United States, Department of State, 2018, p. 38)
ทว่าในปี 2017 ที่ไทยยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง เป็นปีที่ 2 นั้น
เป็นเพราะการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นหลังการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1 เมษายน 2016 – 31 มีนาคม 2017 เพื่อส่ง
รายงานและเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2017 ตามวงรอบปกติของการจัดท ารายงาน ดังเช่นที่ปรากฏรายงาน
การค้ามนุษย์ปี 2017 ที่เห็นถึง “ความพยายามอย่างมีนัยส าคัญ” ของไทยทั้งการอายัดทรัพย์ของผู้ค้ามนุษย์
การสืบสวน ด าเนินคดีและลงโทษเจ้าของธุรกิจที่ใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคประมง การขยายเวลาให้เหยื่อ
การค้ามนุษย์และพยานได้ท างานและอาศัยอยู่ในไทย การเพิ่มจ านวนทรัพยากรด้านปราบปรามการค้ามนุษย์
และอนุมัตินโยบายจ้างล่ามชาวต่างชาติท าหน้าที่ตรวจสอบและสัมภาษณ์ แต่ “รัฐบาลไทยไม่ได้แสดงให้เห็นถึง
ความพยายามเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่มีการจัดท ารายงานครั้งที่ผ่านมา [ในปี 2016]” โดยไม่ได้ด าเนินคดี
และลงโทษเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรู้เห็นในการก่ออาชญากรรมค้ามนุษย์ และปล่อยให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคง
ขัดขวางความพยายามในการแก้ปัญหา (United States, Department of State, 2017, p. 387) มาเป็น
“รัฐบาลไทยได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่มีการจัดท ารายงานครั้งที่ผ่านมา [ในปี
2017] จึงได้รับการยกระดับเป็นกลุ่มที่ 2” ทั้งจากการด าเนินคดีและลงโทษผู้ค้ามนุษย์มากขึ้น ระยะเวลาการ
ด าเนินคดีค้ามนุษย์ที่ลดลงด้วยการใช้แผนกบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์พิเศษ การสืบสวนคดีที่
เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรู้เห็นเป็นผู้ต้องหาในการก่ออาชญากรรมค้ามนุษย์มากขึ้น เป็นต้น (United States,
Department of State, 2018, p. 414)
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน Donald Trump เองไม่ได้สนใจการปฏิบัติในเรื่องสิทธิ
มนุษยชนในประเทศไทย ยิ่งเมื่อกระทรวงการต่างประเทศพยายามชี้แจ้งโน้มน้าวกระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกากลับมาเป็นปกติหลังจากนายกรัฐมนตรี
ไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เยือนสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม 2017 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศ
อย่างชัดเจนว่า ให้ความส าคัญกับเรื่อง “การค้า” ซึ่งตอบสนองผลประโยชน์ภายในประเทศตามนโยบายของ
ตนมากกว่า (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562; Pongphisoot Busbarat, 2017; United
States, White House, 2017)
[35]