Page 54 - kpiebook62002
P. 54

และอุปทานรวมทั้งจัดระเบียบแรงงานท าให้คดีค้ามนุษย์โดยเฉพาะแรงงานประมงลดลงอย่างมากเหลือเพียง 7

               คดีในปี 2017 จาก 43 คดีในปี 2016 (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2561,16;
               United States, Department of State, 2018, p. 415) อันเป็นผลจากความพยายามของรัฐในการสืบสวน

               และด าเนินคดีแรงงานประมงมากขึ้น มีข้อร้องเรียนจากแรงงานประมงน้อยลง มีการใช้สื่อสังคมรับข้อร้องเรียน

               ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับองค์การนอกภาครัฐและช่วยท าให้ปัจจัยลบลดลง


                       2.  สภาพปัญหาของการค้าประเวณีในไทย

                          รายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) เป็นสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การค้าประเวณีเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่
               สหรัฐอเมริกาให้ความส าคัญซึ่งไทยเป็นทั้งประเทศต้นทางและปลายทางของปัญหานี้ การค้าประเวณีเป็น

               การค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศรูปแบบหนึ่งที่มีจ านวนคดีมากที่สุดในไทยเฉลี่ยปีละมากกว่า 200

               คดี จากประมาณ 300 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 70–80 จากจ านวนคดีทั้งหมดในช่วง ค.ศ. 2014–2017
               (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2561, น. 16)

                       การค้าประเวณีถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมในทุกประเทศทั่วโลกประเทศต่างๆ ล้วนแต่พยายาม

               แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการทั้งทางสังคมและทางกฎหมาย การค้าประเวณีถือได้ว่ามีอยู่ 3 ลักษณะตาม
               ระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ระบบห้ามการค้าประเวณี (Prohibitionist System) โดยมองว่าเป็นเรื่อง

               ผิดศีลธรรมควรก าจัดให้หมดไปจากสังคม (2) ระบบยกเลิกการค้าประเวณี (Abolitionist System) โดยถือว่า

               การค้าประเวณีโดยตัวเองนั้นไม่ผิดกฎหมาย แต่มีบทลงโทษการค้าประเวณีที่กระท าในลักษณะเป็นการรบกวน
               และก่อความร าคาญแก่ผู้อื่นและระบบการจดทะเบียน และ (3) ระบบการจดทะเบียน (Regulatory System)

               ซึ่งยอมรับว่าการค้าประเวณีเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และก าหนดให้จดทะเบียนโสเภณี รวมทั้งการตรวจสุขภาพ

               โสเภณีตามระยะเวลาที่ก าหนด (พงษ์ธร ส าราญ, 2549, น. 85–86)
                       ประเทศไทยนั้นอยู่ในระบบยกเลิกการค้าประเวณี (Abolitionist System) โดยที่การค้าประเวณียังคง

               แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันซึ่งสภาพปัญหามีทั้งการค้าในประเทศไทยและการไปค้าประเวณียังประเทศต่างๆ ของ

               หญิงไทย เช่น แอฟริกาใต้ ยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น แม้ว่าการค้าประเวณีจะสร้างปัญหา
               ให้แก่สังคมและตัวหญิงโสเภณีเองรวมทั้งยังเป็นการกระท าผิดตามกฎหมายก็ตาม แต่ยังคงมีผู้หญิงจ านวนมาก

               เข้าสู่ตลาดค้าประเวณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเองยังคงปล่อยปละละเลยให้การ

               ค้าประเวณีเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคม (พงษ์ธร ส าราญ, 2549) ไทยถือเป็นประเทศต้นทางของการค้า
               ประเวณีจากการที่คนไทยเดินทางไปขายบริการทางเพศยังประเทศอื่น และประเทศปลายทาง คือ มีคนจาก

               ต่างประเทศเดินทางมาค้าบริการทางเพศยังประเทศไทย การค้าบริการทางเพศนี้นับเป็นหนึ่งในปัญหาส าคัญ

               ของการค้ามนุษย์ที่ไทยพยายามแก้ปัญหาแต่ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
                       ส าหรับประเทศปลายทางนั้น เยอรมนีถือเป็นประเทศเป้าหมายหนึ่งของผู้ที่ต้องการค้าบริการทางเพศ

               ซึ่งรวมถึงไทย เนื่องจากเยอรมนีใช้ระบบการจดทะเบียน (Regulatory System) หญิงไทยและหญิงข้ามเพศ

               จากไทยจึงต้องการเดินทางไปขายบริการทางเพศ ทว่าก็มักจะไปในรูปแบบที่ผิดกฎหมายจนตกเป็นเหยื่อของ




                                                           [38]
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59