Page 56 - kpiebook62002
P. 56

แรงงานท างานบ้านที่เป็นแรงงานข้ามชาติมักถูกบริษัทจัดหางานเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูง โดยผู้ว่า

               จ้างยึดหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางเอาไว้ แรงงานข้ามชาติท างานบ้านยังมักไม่ได้รับความคุ้มครองอย่าง
               เต็มที่ตามกฎหมายแรงงานหากเข้าเมืองโดยวิธีไม่ปกติหรือไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง แรงงานรับใช้ในบ้านจึง

               กลายเป็นอาชีพที่ขึ้นอยู่กับความเมตตาของนายจ้าง งานรับใช้ในบ้านมีหลายอย่าง ทั้งท าความสะอาด ซักรีด

               เสื้อผ้า ท าอาหาร ดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงล้างรถ แรงงานจ านวนมากยังถูกบังคับท างานโดย
               อยู่ภายใต้เงื่อนไขการผูกมัดด้วยหนี้สิน (debt bondage) และตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์

               ชั่วโมงการท างานบางครั้งเป็นการท างานติดต่อกันนานกว่า 15-18 ชั่วโมงต่อวัน และต้องพร้อมที่จะท างาน

               ตลอด 24 ชั่วโมงแม้ในขณะเจ็บป่วยและมักไม่มีวันหยุดหรือวันพักผ่อนแต่อย่างใดนอกจากนี้ แรงงานรับใช้ใน
               บ้านส่วนมากยังต้องเผชิญกับการท าร้ายร่างกาย การดุด่าว่ากล่าว และการคุกคามทางเพศจากนายจ้างอีกด้วย

               ประมาณการกันว่ามีผู้หญิงชาวพม่านับแสนรายที่ถูกจ้างให้เป็นแรงงานรับใช้ในบ้านในทุกจังหวัดของไทย โดย

               แรงงานจ านวนมากถูกบังคับให้ยอมรับเงื่อนไขต่างๆ โดยที่ตนเองไม่ได้มีความรู้หรือไม่ได้เห็นชอบด้วย
               นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงและเด็กจากค่ายผู้อพยพบางส่วนที่ถูกค้ามาเป็นแรงงาน (ศิบดี นพประเศริฐ, 2553, น.

               23–24)


               2.2 กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทย



                       กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทยพิจารณาได้เป็น 3 ส่วนซึ่งเกี่ยวโยงกัน ได้แก่ แนวคิด หน่วยงาน

               และกฎหมาย


                       2.2.1  แนวคิด


                            นับแต่ปัญหาการค้ามนุษย์กลายเป็น “ประเด็นระดับโลก” ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 รัฐบาลไทยให้

               ความส าคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์เป็นอย่างมากโดยพยายามพัฒนากลไกและสร้างหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมาเพื่อ

               แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังด้วยการประกาศให้การค้ามนุษย์เป็น “วาระแห่งชาติ” ถึง 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้ง
               แรก ในวันที่ 6 สิงหาคม 2004 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และครั้งที่สอง เกือบ 11 ปีต่อมาในวันที่ 3

               เมษายน 2015 ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งสองปีเป็นจังหวะที่ไทยถูกลดอันดับสถานการณ์

               การค้ามนุษย์อย่างมีนัยส าคัญโดยในปี 2004 ไทยตกจากที่เคยอยู่กลุ่มที่ 2 มาอย่างต่อเนื่องลงมาในกลุ่มที่ 2
               บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองแล้วปรับอันดับขึ้นมาอยู่กลุ่มที่ 2 ในปี 2005 ส่วนในปี 2014 เองไทยถูก

               ลดอันดับจากกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองมาอยู่ที่กลุ่มที่ 3 ต่อเนื่องถึงปี 2015 ก่อนปรับดีขึ้น

               เป็นล าดับมาอยู่กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง ในปี 2016–2017 และคืนสู่กลุ่มที่ 2 ในปี 2018
               จากการปรับเปลี่ยนการจัดอันดับดังที่กล่าวมานี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์เป็นรัฐบาลที่น า

               วาระแห่งชาติมาปฏิบัติให้เกิดผลจริงจังและเริ่มเป็นระบบมากขึ้นกว่าการประกาศ “วาระแห่งชาติ” ครั้งแรกใน

               สมัยรัฐบาลทักษิณปี 2004


                                                           [40]
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61