Page 180 - kpiebook62002
P. 180
ข่าวกรองและร่วมมือทางทหารด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีตัวแทนจากเอสโตเนียท าหน้าที่เป็น
ประธานศูนย์ อันท าให้เอสโตเนียมีบทบาทหลักในการด าเนินนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในยุโรป
ซึ่งการด าเนินแผนงานของศูนย์จะอยู่บนพื้นฐานของหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสงครามทางไซเบอร์
(Manual on International Law Applicable to Cyber Warfare) หรือคู่มือทาลลินน์ (Tallinn Manual)
ทั้งนี้ เอสโตเนียจะเป็นผู้จัดหางบประมาณในการด าเนินงานของศูนย์ โดยงบประมาณศูนย์ CCDCOE เป็นส่วน
หนึ่งของงบประมาณกระทรวงกลาโหมของเอสโตเนีย (Crandall, 2014, 36-37)
ในปี 2017 ได้มีการทบทวนคู่มือปฏิบัติใหม่โดยเรียกว่า คู่มือทาลลินน์ 2.0 (Tallinn Manual 2.0) ซึ่ง
แตกต่างจากคู่มือฉบับเดิม คือ มีการเพิ่มบทวิเคราะห์ทางกฎหมายในการใช้อ านาจรัฐจัดการกับภัยคุกคามทาง
ไซเบอร์ที่มีโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้ก าลังทหารจัดการ/รับมือเท่าที่จ าเป็น ขณะที่ฉบับปี 2013 จะเน้นการ
ปฏิบัติการต่อภัยคุกคามที่มีผลกระทบร้ายแรง ซึ่งอาจน าไปสู่การละเมิดการใช้ก าลังทหารตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศ รวมถึงสิทธิของแต่ประเทศในการป้องกันตนเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คู่มือฉบับล่าสุดจะครอบคลุมการ
อธิบายทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไซเบอร์ทั้งในยามสงบและสงคราม ตลอดจนถึงขอบเขตอ านาจอธิปไตย
สิทธิมนุษยชน กฎหมายทางทะเล กฎหมายอวกาศ และกฎหมายทางการทูต (CCDCOE, 2017)
อีกกลไกที่สร้างขึ้นมาหลังเหตุการณ์ปี 2007 คือ Cyber-Defense League (CDL) โดยมีอาสาสมัคร
ทั้งจากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามและสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซ
เบอร์แก่ประเทศโดยการก ากับของกระทรวงกลาโหม อีกทั้งยังมีการท างานร่วมกับเนโต้ผ่านโครงการ
แลกเปลี่ยนความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ซึ่งถือเป็นนโยบายของเอสโตเนียในการสร้างเครือข่ายความ
ร่วมมือนานาชาติ ภายใต้วิสัยทัศน์คือ การปกป้องวิถีชีวิตที่ทันสมัยของชาวเอสโตเนีย (high-tech way of
life) เนื่องจากอาสาสมัครมาจากทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน กิจกรรมของโครงการนี้จึงครอบคลุมทั้งการ
ประเมินความมั่นคงทางทหาร การโจมตีทางเศรษฐกิจ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ จุดประสงค์ของการก่อตั้ง
CDL คือ ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์สามารถอาสาท างานด้านความมั่นคงแห่งชาติโดยไม่มี
ข้อผูกมัดจนกระทบหน้าที่การงานและครอบครัว ประการที่สอง หน่วยความมั่นคงของเอสโตเนียสามารถ
ก าหนดแผนยุทธศาสตร์รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น และประการสุดท้าย เป็นการประหยัดต้นทุนงบประมาณ แต่ได้งานที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม
โครงการ CDL ก็มีความท้าทายทั้งจากการด าเนินงานระยะยาว เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครที่อาจ
ถอนตัวเมื่อไรก็ได้ และผู้เชี่ยวชาญจ านวนมากท างานในต าแหน่งที่ส าคัญของบริษัทเอกชน หากเกิดเหตุการณ์
วิกฤตที่ต้องการตัวด่วนก็อาจเป็นไปได้ยาก (Cardash, Cilluffo, and Ottis, 2013, 779-780; Crandall,
2014, 39)
การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของเอสโตเนียได้รับการขับเคลื่อนในฐานะเครื่องมือหลัก
ส าหรับบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งมีผลต่อการอยู่รอดของประเทศท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก
หลังสงครามเย็น โดยเอสโตเนียสามารถใช้การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับไซเบอร์ส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย
สร้างความความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม อีกทั้งเอสโตเนียยังสามารถแสดงบทบาทน าบทเวที
[164]