Page 177 - kpiebook62002
P. 177

4) โครงการ NSF Vocation ส าหรับทหารเกณฑ์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน

               การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สิงคโปร์ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งระยะเวลา
               ประจ าการที่น้อยลง และทุนศึกษาด้านไซเบอร์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสิงคโปร์ ซึ่งเป็นช่องทางในการพัฒนา

               บุคคลากรด้านไซเบอร์อีกทางหนึ่ง

                       5) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ด้วยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา โดย CSA ภายใต้
               งบประมาณราว 500,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์

                       6) ส่งเสริมการสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยการจัดท าหนังสือแนะน าการ

               ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายของโลกไซเบอร์ซึ่งต้องมี
               การรับมือและการใช้งานที่เหมาะสมในกลุ่มเยาวชน โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา และจัดท าเว็บไซต์

               GoSafeOnline เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ข้อแนะน า และภัยคุกคามในปัจจุบัน

                       กล่าวได้ว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สิงคโปร์มุ่งให้ความส าคัญกับการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ
               โครงสร้างเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจหลักของประเทศก้าวสู่การเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ท าให้รัฐบาลสิงคโปร์

               จ าเป็นต้องสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักธุรกิจตลอดจน

               ประชาชน แม้ว่า การพัฒนานโยบาย ระเบียบ และกฎหมายของสิงคโปร์เป็นสิ่งที่ผู้ก าหนดนโยบายของไทยมี
               ความคุ้นเคย เพราะมีการศึกษาและน ามาประยุกต์กับบริบทของไทย แต่ก็มีโครงการและการด าเนินกิจกรรม

               ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยรวมทั้งการสร้างความตระหนักในสังคมผ่าน

               การจัดท าเว็บไซต์หลักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การคัดเลือกทหารเกณฑ์ที่มีศักยภาพเพื่อแก้ไขปัญหา
               การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและกองทุน

               วิจัยแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์


               เอสโตเนีย

                       เอสโตเนียเป็นประเทศชั้นน าด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยการจัดอันดับความ

                                                                                     26
               มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ (National Cyber Security Index: NCSI)  ในปี 2018 จากการ
               พิจารณาถึงความพร้อมในการป้องกันและตอบโต้การโจมตีทางไซเบอร์ พบว่า เอสโตเนียเป็นประเทศอันดับ 1

               ของโลกด้านนี้ ทั้งนี้ 10 อันดับแรก ได้แก่ เอสโตเนีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สโลวาเกีย สิงคโปร์ ฟินแลนด์ ลิทัวเนีย

               สเปน อังกฤษ และสาธารณรัฐเช็ก ขณะที่การจัดอันดับด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ ITU เอสโตเนีย
               อยู่ในล าดับที่ 5 รองจากสิงคโปร์ สหรัฐฯ มาเลเซีย และโอมาน

                       เอสโตเนียเริ่มการเป็นผู้น าด้านความมั่นคงไซเบอร์ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและต้องการยกระดับ

               ประเทศหลังจากแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต จากวิสัยทัศน์ของผู้ก าหนดนโยบายที่เห็นถึงความส าคัญของ
               โครงสร้างพื้นฐานส าคัญทางสารสนเทศต่อการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ลดความ

               เหลื่อมล้ าในสังคม และเสริมสร้างบทบาทของเอสโตเนียบนเวทีระหว่างประเทศ (Runnel, Pruulmann-


               26  NCSI เป็นโครงการจัดอันดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศของเอสโตเนีย


                                                          [161]
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182