Page 172 - kpiebook62002
P. 172

อาเซียนกับความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับประเทศคู่เจรจา

                       ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาส่วนใหญ่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ กรอบ
               ความร่วมมือจะมีความสัมพันธ์กับวาระหลักของอาเซียน ท าให้ความร่วมมือหลักๆ ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น

               จีน และเกาหลีใต้มีความคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการสนับสนุนอาเซียนใน 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ การพัฒนา

               โครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน นวัตกรรมทางดิจิทัล ระบบโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อ การบังคับใช้กฎหมายอย่างมี
               ประสิทธิภาพ และการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศคู่เจรจาจะใช้จุดเด่นของ

               ตนมากระชับความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอาเซียน เช่น จีนเน้นการสนับสนุนการเชื่อมโยงอาเซียนตามแผน

               แม่บทการเชื่อมโยงอาเซียนปี 2025 ด้วยการร่วมลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคซึ่งสอดคล้องกับข้อ
               ริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) รวมถึงการสนับสนุนข้อริเริ่มเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ

               ด้วยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามข้อตกลงที่เริ่ม

               อย่างเป็นทางการในปี 2018 เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ที่น าจุดเด่นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบการ
               จัดการน้ าและเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากระชับความสัมพันธ์กับอาเซียนตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือ

               ระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ช่วงปี 2016-2020 (ASEAN-ROK Plan of Action) ซึ่งในปี 2018 ได้มีการจัด

               ประชุมรัฐมนตรีที่ก ากับดูแลด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงโซลอีก
               ด้วย ส าหรับญี่ปุ่น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีบทบาทส าคัญในการสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถ

               ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอาเซียน เช่น การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม การส่งเสริมองค์ความรู้ด้านไซเบอร์

               แก่เยาวชน เป็นต้น
                       โครงการความร่วมมือที่ส าคัญระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นได้รับการริเริ่มในปี 2017 คือ โครงการ

               ฝึกอบรมความมั่นคงไซเบอร์ (Cyber Defense Exercise with Recurrence: CYDER) โดยญี่ปุ่นได้ให้การ

               สนับสนุนผ่านกองทุนบูรณาการญี่ปุ่น-อาเซียน (Japan-ASEAN Integration Fund: JAIF) ซึ่งในระยะแรก
               ญี่ปุ่นเน้นการสนับสนุนในส่วนของการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมทางไซเบอร์ และการ

               จัดการแข่งขันด้านการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับเยาวชน ส าหรับระยะที่สอง ญี่ปุ่นให้การ

               สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ยกระดับขีดความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-
               Japan Cybersecurity Capacity Building Centre) ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

               แก่เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอาเซียน ซึ่งเจ้าหน้าราว 280 คนผ่าน

               โครงการ CYDER การอบรมด้านกระบวนการยุติธรรม และการวิเคราะห์มัลแวร์ (malware analysis)
               (ASEAN, 2018) ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน (AIM 2020)

                       อีกหนึ่งโครงการที่มีการด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง คือ โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์

               อาเซียน (ASEAN Cyber Capacity Development) ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2016 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของ
               อาเซียนในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และส่งเสริมการสร้างความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและ

               นานาชาติอันเป็นการรับมือกับภัยคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพ โดยญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับอาเซียนจัดตั้งกองทุน







                                                          [156]
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177