Page 171 - kpiebook62002
P. 171

เพื่ออนาคต ดูจากการเตรียมการของรัฐในการรับมือกับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี แบ่งเป็นทัศนคติต่อการ

               ปรับตัว ความว่องไวทางธุรกิจ และการบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศชั้นน า
               ด้านการแข่งขันทางดิจิทัลของโลก โดยในปี 2018 อยู่ในอันดับ 2 ของโลก แม้ว่าตกลงมาจากอันดับหนึ่งจากปี

               ก่อนหน้า แต่สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีคะแนนด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีสูงสุดของโลก โดยเฉพาะใน

               ปัจจัยความเชี่ยวชาญ การฝึกฝนและให้ความรู้ ในส่วนของไทยประเทศที่อยู่อันดับ 39 ของโลก ซึ่งอันดับ
               เคลื่อนไหวในระดับใกล้เคียงกันในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

                       สรุปความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนได้ว่า ประเทศในภูมิภาคมีความหลากหลายด้านการ

               จัดการ โดยมีทั้งกลุ่มประเทศที่มีการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ดีในระดับโลก มีกลุ่มประเทศ
               ก าลังพยายามปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกลุ่มประเทศที่ยังคงขาดการจัดการความมั่นคง

               ปลอดภัยไซเบอร์ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นความท้าทายในการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

               ในอาเซียน สอดคล้องกับรายงานของ A.T. Kearney ที่ได้สรุปสภาพปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
               ของอาเซียน ได้แก่ (1) การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นภายในภูมิภาค ย่อมท าให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

               ตามไปด้วย (2) ความย้อนแยงของเป้าหมายสูงสุดของรัฐกับวิวัฒนาการของโลกดิจิทัล ท าให้การลงทุนด้าน

               โครงสร้างพื้นฐานก้าวตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลง (3) ข้อจ ากัดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่
               เกี่ยวข้อง อันเนื่องจากการขาดความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน และการขาดความโปร่งใส ยิ่งท าให้กลไกด้านความ

               มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อ่อนแอไม่สามารถร่วมกลุ่มสร้างความแข็งแกร่งได้ (4) วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่

               ก้าวล้ าท าให้การเฝ้าติดตามระวังภัยเป็นไปด้วยความยากล าบากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีการเข้ารหัสมี
               ความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคยังอยู่ในระยะเริ่มต้น

               จึงขาดทั้งประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญ และขาดการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ

               IT แบบองค์รวมที่มีผลต่อการสร้างความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาค
                       ที่ส าคัญอาเซียนย้ าถึงความส าคัญของการร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภายใต้บรรทัดฐาน

               ของการสมัครใจและไม่ผูกมัด (voluntary and non-blinding cyber norm) โดยมองว่าเป็นการส่งเสริมการ

               สร้างความร่วมมืออย่างสันติ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง การร่วมมือภายใต้บรรทัดฐาน
               ดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้ที่จะเผชิญอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายในส่วนของการมีมาตรการร่วมเพื่อรับมือ

               กับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในภูมิภาค เช่นเดียวกันการขาดความเป็นเอกภาพในการร่วมมือด้านอื่นๆ ของ

               อาเซียน อย่างที่ รศ.ดร. ศราวุธ ปิติยาศักดิ์ และอาจารย์วศิน ปั่นทอง (2562) ได้มีมุมมองในทิศทางเดียวกันว่า
               การร่วมมือของอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ กอปรกับความ

               แตกต่างทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจมีผลต่อการแบ่งปันภาระความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งข้อคิดเห็น

               ของ พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน (2562) ที่มองว่า การค านึงถึงผลประโยชน์ของแต่ละชาติเป็นที่ตั้ง รวมทั้งระดับ
               ความพร้อมในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่แตกต่างกันตามความสามารถและสถานะของแต่ละ

               ประเทศ ท าให้การผลักดันการสร้างความมั่นคงปลอดภัยระดับภูมิภาคให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมีความ

               ยากล าบากมากขึ้น




                                                          [155]
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176