Page 175 - kpiebook62002
P. 175
รับมือกับการโจมตีและจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ (Infocomm Development Authority of Singapore,
2018)
นอกจากนี้ สิงคโปร์ได้จัดตั้งศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security
Centre: NCSC) ในปี 2014 ภายใต้หน่วยงาน SITSA โดยมีหน้าที่หลักในการสร้างความตระหนักและประสาน
ความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมด้วยการจัดตั้งส านักงานความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติสิงคโปร์ (Cyber Security Agency of Singapore: CSA) ขึ้นในปีต่อมา เพื่อ
เป็นหน่วยงานหลักในการก ากับกลไกที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้แก่ SingCERT ส านักงาน
IDA และหน่วยงาน SITSA เพื่อให้การด าเนินงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบท
ด้านไซเบอร์ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ภาครัฐ เอกชน และวิชาการ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามไซ
เบอร์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ตลอดจนการพัฒนาและยกระดับกฎหมายและระเบียบ นโยบาย และ
25
แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ในปี 2016 นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง (Lee Hsien Loong) ได้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์เพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ประการ ได้แก่ (cyber Security Agency of Singapore, 2016)
1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานส าคัญด้านสารสนเทศ เริ่มตั้งแต่การยกระดับ
โครงการพื้นฐานส าคัญด้านสารสนเทศให้มีความพร้อมกับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ปรับปรุงมาตรการตอบ
โต้และกู้คืนระบบ โดยจะมีการทดสอบระบบอยู่สม่ าเสมอบนพื้นฐานของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่
เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ผลักดันกฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อเพิ่มอ านาจของ CSA ในการ
รับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความรุนแรงมากขึ้น และพัฒนามาตรการปกป้องเครือข่ายไซเบอร์ของ
รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเท่าทันต่อภัยคุกคามที่มุ่งหวังสร้างความเสียหายทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค
โดยเฉพาะการขโมยข้อมูลที่ส าคัญทั้งของรัฐบาลและส่วนบุคคล
2) ยกระดับความสามารถของภาคธุรกิจและชุมชนในการสร้างความปลอดภัย รับมือกับภัยคุกคาม
และอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมทั้งปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับ
อาชญากรรมทางไซเบอร์ เช่น แผนปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รวมทั้งมีบทบาทหลักใน
การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างประเทศ ด้วยการร่วมมือกับนานาชาติทั้งภาครัฐ เอกชน และ
หน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม
ทางไซเบอร์จากความรวดเร็วในการระบุตัวตนและจัดการกับภัยคุกคาม
3) พัฒนาระบบนิเวศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างรอบด้าน โดยเน้นการยกระดับบุคลากรที่
มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยรัฐกับภาคอุตสาหกรรมจะร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา
พัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ และส่งเสริมการลงทุนของบริษัทที่มีเทคโนโลยีระดับสูงบนพื้นฐาน
ของการร่วมมือด้านการวิจัย แต่ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการพัฒนา start-up ภายในประเทศด้วยแผนปฏิบัติ
25 https://www.csa.gov.sg/~/media/csa/documents/publications/singaporecybersecuritystrategy.pdf
[159]