Page 179 - kpiebook62002
P. 179

เข้าใจต่อการเมืองประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่อย่างจ ากัด ในด้านเศรษฐกิจ ผู้ก าหนดนโยบายของเอสโตเนียเล็งเห็น

               ถึงความส าคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรบุคคลทางไซเบอร์ต่อการสร้างความรุ่งเรืองแก่
               ประเทศเล็กๆ แถบทะเลบอลติกที่ในขณะนั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ในด้านสังคม การส่งเสริม

               การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ าทางการศึกษาระหว่างเมือง

               หลวงกับภูมิภาค อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการสื่อสารระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ภายในประเทศเพื่อสร้างความ
               เข้าใจระหว่างกัน

                       ต่อมาในปี 2002 หน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชน 10 แห่งร่วมกันก่อตั้งกองทุน Look@World

               Foundation เพื่อสนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้
               ความส าคัญกับทั้งการฝึกอบรมผู้ใหญ่กว่าหนึ่งแสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของจ านวนประชาชนผู้ใหญ่ของ

               เอสโตเนีย และการส่งเสริมหลักสูตรคอมพิวเตอร์แก่เยาวชนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ผลส ารวจในปี 2016 พบว่า จาก

               การด าเนินโครงการต่อเนื่องมามากกว่าทศวรรษได้ช่วยให้คนเอสโตเนียเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตกว่าร้อยละ
               91.4 ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงร้อยละ 28.6 ในปี 2000 ปัจจัยส าคัญที่ท าให้การส่งเสริม

               ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในเอสโตเนียประสบผลส าเร็จ คือ ความร่วมมือระหว่าง

               ภาครัฐกับเอกชนบนพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยภาคเอกชนก็จะได้ทรัพยากรมนุษย์มาช่วย
               ต่อยอดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจผ่านโลกออนไลน์ ขณะเดียวกันรัฐก็สามารถสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์

               และจัดการงานด้านสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการมีข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อมโยงถึงกัน (UNESCO,

               2017)
                       เอสโตเนียยังได้ต่อยอดความก้าวหน้าในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านระบบไซเบอร์ด้วยการจัดตั้งกองทุน

               Eesti 2.0 เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้หันมาสนใจต่อยอดนวัตกรรมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การสร้าง

               หุ่นยนต์ การพัฒนาโปรแกรมในขั้นสูง เป็นต้น ด้วยการจัดหาอุปกรณ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ผู้สนใจ
               นอกจากนี้ เอสโตเนียยังมีหลายโครงการเพื่อส่งเสริมทักษะตามความสนใจของเยาวชน เช่น ProgeTiger ที่เน้น

               การสอนเยาวชนอายุตั้งแต่ 7-19 ปี ในการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม การออกแบบและเทคโนโลยี

               และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (UNESCO, 2017)
                       เอสโตเนียมีความกังวลอย่างยิ่งต่อการโจมตีทางไซเบอร์ปี 2007 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความรุ่งเรือง

               ของประเทศ เนื่องจากโครงสร้างหลักทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศพึ่งพาระบบไซเบอร์อย่างมาก ไม่

               ว่าจะเป็นการเข้าถึงบริการสาธารณะผ่าน e-government การศึกษาผ่านระบบ eKool (e-school) ตลอดจน
               การค้าและธนาคารที่ใช้ระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นการโจมตีดังกล่าวได้กระตุ้นให้เอสโตเนียเล็งเห็น

               ถึงความส าคัญของการสร้างความร่วมมือภายในภูมิภาคเพื่อรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่จะมาจากภายนอก

               ประเทศ โดยการร่วมมือกับ NATO เป็นตัวอย่างของการพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพราะแม้ว่า การ
               โจมตีทางไซเบอร์ไม่ใช่ภัยคุกคามทางทหารที่ชาติสมาชิก NATO จ าเป็นต้องร่วมต่อต้านตามสนธิสัญญา แต่

               เอสโตเนียก็มีบทบาทในการผลักดันให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นความท้าทายที่พันธมิตรจะต้องร่วมมือกัน

               จัดการปัญหา NATO โดยการผลักดันของเอสโตเนียจึงจัดตั้ง CCDCOE ขึ้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน




                                                          [163]
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184