Page 183 - kpiebook62002
P. 183
อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 สหภาพยุโรปได้ทบทวนยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้มีความ
ทันสมัยขึ้น โดยเป็นการเสริมความแข็งแกร่งในการผลักดันยุทธศาสตร์ส าคัญ 5 ประการจากฉบับปี 2013 อัน
เป็นการด าเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อให้สหภาพยุโรปบรรลุวัตถุประสงค์ในการปกป้องเสรีภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน
และทรัพย์สินจากการถูกบ่อนท าลายด้วยอาชญากรรมทางไซเบอร์ ได้แก่ (European Commission, 2017)
1) การเสริมความแข็งแกร่งของ ENISA ในฐานะกลไกหลักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยท า
การปฏิรูปให้ ENISA มีอ านาจในการจัดการภัยคุกคามและเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์
2) ก้าวสู่การเป็นตลาดเดียวด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เนื่องจากความหลากหลายของ
ผลิตภัณฑ์ การให้บริการ และกระบวนการต่างๆ บนโลกออนไลน์ จึงจ าเป็นต้องมีการสร้างมาตรฐานเพื่อความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้จัดท า EU Cybersecurity Certification Framework ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างความเชื่อมั่นและลดอุปสรรคทางการค้าและการผลิตระหว่างชาติสมาชิกภายใต้
หลักการตลาดร่วม
3) ด าเนินการ NIS Directive อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากการสร้างมาตรฐานในระดับเดียวกันของชาติ
สมาชิกเป็นกุญแจส าคัญในการอุดช่องโหว่ที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้แสวงหาประโยชน์หรือการโจรกรรมข้อมูลโดยฝั่ง
ตรงข้าม
4) การสร้างความสามารถผ่านมาตรการการตอบโต้อย่างทันท่วงที โดยจะเป็นประสานความร่วมมือ
อย่างใกล้ชิดระหว่างกลไกระดับสหภาพและระดับประเทศ ที่ส าคัญมีการจัดตั้งกองทุน Cybersecurity
Emergency Response Fund อันเป็นทุนสนับสนุนทั้งการด าเนินมาตรการป้อมปราบ ตอบโต้ และฟื้นฟู
5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ผ่าน European Cybersecurity
Research and Competence Center ในรูปแบบความร่วมมือแบบระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) ซึ่งตั้งเป้า
ลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ได้ราว 1,800 ล้านยูโรภายในปี 2020
6) เพิ่มจ านวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สหภาพยุโรปยังคงมีปัญหาเรื่องการขาด
แคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยคาดว่า ภายในปี 2022 ยุโรปต้องการแรงงานที่มีทักษะ
ด้านไซเบอร์เพิ่มอีก 350,000 ต าแหน่ง โดยจะมี European Cybersecurity Research and Competence
Center และ ENISA เป็นกลไกประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและวิชาการในการสร้างบุคลากรที่มีทักษะ
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
7) ส่งเสริมความตระหนักต่อภัยคุกคามไซเบอร์ ทั้งการผลักดันให้ชาติสมาชิกสนับสนุนภาคเอกชนและ
ประชาชนใช้เครื่องมือตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป หรือแม้แต่ภาครัฐก็ควรเป็นตัวอย่างของการใช้เครื่องมือ
ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในการพัฒนา e-government ตลอดจนการจัดโครงการรณรงค์สร้างความ
ตระหนักต่อภัยคุกคามไซเบอร์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและนักศึกษา
นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ฉบับล่าสุดยังให้ความส าคัญกับการมีมาตรการจัดการภัยคุกคามไซเบอร์อย่างมี
ประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาความสามารถในการระบุตัวตนภัยคุกคามอย่างทันท่วงที การบังคับใช้กฎหมาย
[167]