Page 185 - kpiebook62002
P. 185
ดังเห็นได้จาก การผลักดันความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสิงคโปร์ก็เริ่มจากความสมัครใจ
และขอความร่วมมือ กอปรกับความแตกต่างในการตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็ยิ่งท าให้การส่งเสริมการ
สร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคมีความยากขึ้น ขณะที่การร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาก็พบว่า ญี่ปุ่น
มีความมุ่งมั่นในการมีบทบาทน าด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการให้ความ
ช่วยเหลือที่เน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านโครงการสัมมนาและการฝึกอบรม ถือเป็นการยกระดับความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคอีกทางหนึ่ง แต่ก็อาจจะมีความท้าทายจากการแข่งขันการเป็นผู้น าในภูมิภาค
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างสิงคโปร์กับญี่ปุ่น
ในส่วนของการศึกษาประเทศแนวหน้าด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พบว่า สิงคโปร์มุ่งให้
ความส าคัญกับการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยมีปัจจัยผลักดัน คือ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจ
หลักของประเทศก้าวสู่การเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ท าให้รัฐบาลสิงคโปร์จ าเป็นต้องสร้างความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักธุรกิจตลอดจนประชาชน ซึ่งมิติการพัฒนาที่
น่าสนใจส าหรับประเทศไทย คือ โครงการและการด าเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์โดยรวม เช่น การสร้างความตระหนักในสังคมผ่านการจัดท าเว็บไซต์หลักด้านความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ การคัดเลือกทหารเกณฑ์ที่มีศักยภาพเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและกองทุนวิจัยแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการ
พัฒนาและวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของเอสโตเนียก็มีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งไทยอาจประยุกต์มาใช้
กับบริบทของประเทศได้ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์และการจัดท าโครงการต่างๆ ซึ่งจะช่วย
ตอบโจทย์ของไทยทั้งในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านไซเบอร์ การสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามทาง
ไซเบอร์และการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย หรือการเพิ่มจ านวน start-up ที่สามารถน าองค์ความรู้มา
พัฒนาอาชีพบนโลกออนไลน์ นอกจากนี้ โครงการ CDL ก็อาจเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลน
ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ในภาครัฐของไทยในระยะสั้นได้
การศึกษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหภาพยุโรปก็พบว่า ปัจจัยหลักที่ช่วยให้สหภาพยุโรป
ประสบความส าเร็จในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ การบังคับใช้กฎระเบียบและข้อบังคับ
ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งในด้านข้อกฎหมาย การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในกับของสหภาพยุโรป และการสร้าง
มาตรฐานด้านไซเบอร์เดียวกัน อันเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับ
ภูมิภาค ขณะเดียวกันก็เป็นการรับประกันว่าความมั่นคงของรัฐกับเสรีภาพของประชาชนจะเดินควบคู่กันไปบน
พื้นฐานของค่านิยมสากล โดยรูปแบบการด าเนินการของสหภาพยุโรปสามารถน ามาปรับใช้กับอาเซียนได้
โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไกถาวรเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ด้วยพื้นฐานความร่วมมือของอาเซียนที่อยู่บนหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในและความสมัครใจ
การบังคับใช้กฎระเบียบใดๆ จ าเป็นต้องท าอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้ฉันทามติที่มีร่วมกัน เช่น ประเทศที่มี
[169]