Page 186 - kpiebook62002
P. 186
ความพร้อมก็สามารถน าไปปฏิบัติใช้ทั้งหมด ส่วนประเทศที่ยังไม่พร้อมก็อาจปฏิบัติตามหลักการส าคัญๆ ก่อน
ซึ่งอย่างน้อยก็ท าให้พัฒนาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนมีทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ หากแบ่ง
ข้อเสนอแนะหลักๆ จะมีดังนี้
1. การสร้างความตระหนักรู้ ณ ปัจจุบันหลายหน่วยงานสนับสนุนการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัย
คุกคามทางไซเบอร์และการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ เช่น สพธอ.
จัดท าโปรเตอร์และคู่มือเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ไทยสามารถขยายความ
ตระหนักรู้ให้กว้างขึ้นผ่านระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสามารถประยุกต์ใช้บทเรียนจากเอสโตเนียที่ประสบ
ความส าเร็จในการส่งเสริมให้เยาวชนเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามและความปลอดภัยจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2. การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การปรับปรุงหลักสูตรคอมพิวเตอร์
นอกจากจะช่วยสร้างความตระหนักรู้แล้ว ยังเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านไอทีอีกด้วย เอสโตเนียคือ
ตัวอย่างประเทศที่มีบุคลากรด้านไอทีที่ก้าวขึ้นมาเป็นส่วนส าคัญในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งโครงการคัดเลือก
ทหารเกณฑ์ที่มีศักยภาพด้านไอทีของสิงคโปร์ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ไทยสามารถน ามาปรับใช้ได้ ขณะที่ใน
ระยะสั้น โครงการอาสาสมัคร CDL ก็อาจเป็นทางออกส าหรับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภาครัฐ
3. การบูรณาการความร่วมมือ การจัดตั้งคณะกรรมการ กมช. ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับ
การบูรณาการความร่วมมือและการก าหนดทิศทางการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นไปในทิศทาง
เดียวกันทั้งของหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งการศึกษาจุดเด่น จุดด้อย และข้อแตกต่างของกลไกของ
ต่างประเทศอย่าง CSA ของสิงคโปร์ก็จะช่วยให้กลไกของไทยมีองค์ความรู้ในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ตามแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของประเทศ
4. การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอาเซียน ซึ่งอาเซียนสามารถเรียนรู้แนวทางการ
จัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหภาพยุโรปได้ โดยเริ่มจากการจัดตั้งกลไกหลักอย่าง ENISA เพื่อให้
การประสานความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกมีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากขึ้น แล้วจึงขยับไปสู่การสร้าง
ฉันทามติร่วมในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยสามารถประยุกต์กรอบการพัฒนาด้านนี้จาก
NIS Directive ของสหภาพยุโรป
[170]