Page 191 - kpiebook62002
P. 191
บทที่ 5
บทสรุป และข้อเสนอแนะ
โครงการวิจัยนี้เป็นการต่อยอดจากงานวิจัยของ Amitav Acharya เรื่อง “Non-Traditional
Challenges: Thailand and Regional Cooperation” ซึ่งได้ศึกษาประเด็นการก่อการร้ายและภัยธรรมชาติ
โดย Acharya ได้เสนอเกี่ยวกับการศึกษาความมั่นคงรูปแบบใหม่ไว้ 3 ประการ คือ ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็น
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ ศึกษาทั้งในระดับชาติและภูมิภาค และวิเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็น คือ การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และ
อาชญากรรมไซเบอร์ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ทวีความส าคัญมากขึ้นในปัจจุบัน
บทที่ 1 เป็นการศึกษาภาพรวมของความมั่นคงรูปแบบใหม่ของไทย โดยเลือกน าเสนอตัวอย่างของภัย
คุกคามที่ไทยก าลังเผชิญอยู่ทั้งปัญหายาเสพติด ทุจริตคอร์รัปชัน อุทกภัย และความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่ง
พบว่า ผลกระทบของปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ไม่ได้เกิดเฉพาะแก่รัฐเท่านั้น แต่ยังมีผลเป็นวงกว้างตั้งแต่
ระดับโลกจนถึงสถาบันครอบครัว ตัวอย่างเช่น ปัญหายาเสพติดที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาครอบครัว การ
ทุจริตกับปัญหาคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานและความเท่าเทียมในสังคม และภัยพิบัติทางธรรมชาติกับการ
เติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ส าคัญไทยเป็นประเทศที่เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของภัยคุกคามความ
มั่นคงรูปแบบใหม่ จึงจ าเป็นที่จะต้องมีนโยบายและมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพและรอบด้านทั้ง
ภายในประเทศและระหว่างประเทศ เนื่องภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่มีความเกี่ยวพันกับการก่อ
อาชญากรรมข้ามชาติ ดังนั้น ประเทศไทยเพียงล าพังจึงไม่อาจแก้ไขปัญหาภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ได้
อย่างสมบูรณ์ จึงต้องร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บทที่ 2 ประเด็นการค้ามนุษย์ โดยไทยเริ่มให้ความส าคัญไปพร้อมกับความพยายามของนานาชาติที่
น าโดยสหรัฐอเมริกาในการจัดการปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2001 อย่างไรก็ตาม ปัญหาการค้ามนุษย์กลายเป็น
“วิกฤต” ของไทยจนถึงขั้นต้องประกาศเป็น “วาระแห่งชาติ” ถึง 2 ครั้งเมื่อไทยถูกลดอันดับมาเป็นกลุ่มที่ 2
บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง ในปี 2004 และอีกครั้งเมื่อไทยถูกลดอันดับลงมาเป็นกลุ่มที่ 3 ในช่วงปี
2014–2015 ทั้งจากปัญหาการค้ามนุษย์ที่สั่งสมมาในช่วงหลายปี ปัญหาการใช้แรงงานประมงผิดกฎหมาย
การค้ามนุษย์ในกรณีชาวโรฮิงญา การขาดความเข้าใจต่อมาตรฐานขั้นต่ าตามกฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อ
จากการค้ามนุษย์และความรุนแรง (TVPA) รวมทั้งปัญหาการค้าประเวณี การใช้แรงงานเด็กและผู้หญิงที่เข้า
ข่ายการค้ามนุษย์ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน
[175]