Page 193 - kpiebook62002
P. 193

มนุษย์ กระนั้นก็ตามไทยก็ได้พัฒนาตนเองเป็น “ศูนย์รวม” ความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ความ

               ร่วมมือระหว่างประเทศเหล่านี้ผลักดันให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในไทยเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยที่
               ไทยมีส่วนส าคัญในการพัฒนาสมรรถนะของประเทศเพื่อนบ้านให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

               มากขึ้น อีกทั้งได้รับการเสริมสมรรถนะจากความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคโดยเฉพาะออสเตรเลียใน

               โครงการออสเตรเลีย-เอเชีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (AAPTIP) ที่สนับสนุนการจัดท า “แนวปฏิบัติส าหรับ
               ผู้ปฏิบัติงานของอาเซียน ปี 2018” (ASEAN Practitioner Guidelines 2018) และ “รายงานความก้าวหน้า

               ว่าด้วยการตอบสนองในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน” (Progress

               Report on Criminal Justice Reponses to Trafficking in persons in the ASEAN Region)
                       ส าหรับแนวปฏิบัติที่ดี อินโดนีเซียถือเป็นตัวอย่างของแนวปฏิบัติจากต่างประเทศที่แสดงให้เห็นความ

               พยายามปรับตัวบทกฎหมายและแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังเพื่อยกอันดับใน

               รายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) ขึ้น ความน่าสนใจประการหนึ่ง คือ การที่อินโดนีเซียรักษาระดับอยู่ในกลุ่ม
               ที่ 2 คงที่ได้เป็นเวลาหลายปีในขณะที่เผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีการน าคนเข้าออกประเทศเช่นเดียวกับ

               ไทย ทั้งในเรื่องกฎหมายป้องกันการค้ามนุษย์ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเช่นการคุ้มครองเด็กและการบังคับใช้

               กฎหมายที่จริงจัง 2 การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการสืบสวนคดีการค้ามนุษย์ การท างานร่วมกันอย่างใกล้ชิดพนักงาน
               สอบสวนและฝ่ายพนักงานอัยการซึ่งช่วยให้การสั่งฟ้องด าเนินคดีมีประสิทธิภาพอย่างมาก ไปจนถึงการ

               คุ้มครองและการระบุตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ค านึงถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีความพยายามเชิงรุกใน

               การน าเทคโนโลยีอย่างแอปพลิเคชันบนมือถือเข้ามาแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
                       ดังนี้ ไทยจึงต้องมุ่งท าให้การค้ามนุษย์เป็น “วาระหลัก” ที่ยั่งยืนไม่เปลี่ยนไปตามวาระของรัฐบาล โดย

               ไทยควรใช้โอกาสของการเป็น “ศูนย์รวม” ของความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอาเซียนซึ่งที่ไทยมี

               ต้นทุนต้นความร่วมมือที่ดีอยู่ในปัจจุบันเพื่อสร้างมาตรฐานในภูมิภาคที่มุ่งให้การต่อต้านการค้ามนุษย์มี
               ประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งในเชิงการด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย การคุ้มครองเหยื่อโดยค านึงถึงสิทธิมนุษยชน

               และการพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ เชิงรุกด้วยการใช้เทคโนโลยีซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทิศทางที่ไทยก าลังมุ่งไปแต่ต้องการ

               การพัฒนาระบบการท างานที่รองรับเพื่อความยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ต้องเริ่มคิดหาแนวทางที่จะป้องกัน
               ปัญหาเสียแต่ต้นทางเพื่อยุติวงจรการค้ามนุษย์อย่างถาวร

                       บทที่ 3 การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ การย้ายถิ่นนั้นถือเป็นปรากฏการณ์ปกติที่ไทยเผชิญทั้งในฐานะ

               ประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระแสโลกาภิวัตน์และโดยเฉพาะอย่างบูรณา
               การการเป็นประชาคมอาเซียนยิ่งผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายของคนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทาย

               หลักที่ไทยเผชิญอยู่ คือ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ซึ่งเข้ามาโดยวิธีการหรือเส้นทางการย้ายถิ่นอย่างไม่ปกติ อีก

               ทั้งเป็นการย้ายถิ่นแบบผสม (mixed migration) ยังผสมกันทั้งผู้ที่ย้ายถิ่นด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและผู้ที่
               แสวงหาโอกาสในชีวิตซึ่งอาจกลายเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์หรือร่วมไปกับขบวนการลักลอบขนย้ายคน

                       กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทยมีลักษณะที่เป็น “ระบอบการป้องกัน” (prevention regime)

               ทั้งต ารวจอย่างส านักงานตรวจคนเข้าเมือง กองทัพเรือ ในเชิงนโยบายพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522




                                                          [177]
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198