Page 195 - kpiebook62002
P. 195
สหภาพเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตั้งถิ่นฐานใหม่ และการพัฒนาในรัฐยะไข่ (UEHRD) และ
หน่วยงานของรัฐบาลเมียนมา ในขณะที่ไทยเข้าไปช่วยเมียนมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ด้วยการเป็น “เพื่อนบ้านที่
ดี” ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการป้องกันปัญหาร่วมกัน และใช้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ไทยและอาเซียนควรเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกตินั้น คือ
การถอดบทเรียนจากลาตินอเมริกาที่เผชิญปัญหาการย้ายถิ่นของชาวโคลอมเบียจ านวนกว่า 3 ล้านคนที่ส่งผล
กระทบกับประเทศเพื่อนบ้าน บทเรียนส าคัญประการหนึ่งที่ได้จากกรณีนี้ คือ กลไกและเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น
นั้นไม่จ าเป็นต้องมีผลผูกพันทางกฎหมายแต่โดยหลักอยู่ในลักษณะ “ปฏิญญา” และ “แผนปฏิบัติการ” ที่ไม่
เพียงนิยามความหมายตรงกันแต่ยังขยายความให้ครอบคลุมสถานการณ์จริงของภูมิภาค และพิจารณาหา
แนวทางที่เหมาะสมและยั่งยืน โดยไม่ได้ส าคัญว่าประเทศในอาเซียนต้องเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้
ลี้ภัย ค.ศ. 1951 แต่คือการยอมรับที่จะจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติและร่วมกันคิดหาหนทางเพื่อจัดการ
ดังที่ William Lucy Swing ผู้อ านวยการ IOM ได้กล่าวไว้ว่า “การย้ายถิ่นไม่ใช่ปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่เป็นความ
จริงที่ต้องจัดการ” โดยสิ่งที่ไทยต้องร่วมกับประเทศในอาเซียนพัฒนาต่อไปอย่างกรณีลาตินอเมริกา คือ
“ระบอบการคุ้มครอง” (protection regime) ในเรื่องสิทธิมนุษยชนต่อผู้ย้ายถิ่น
สิ่งที่ไทยต้องเร่ง คือ การสร้างกลไกเชิงนโยบายที่ทันสมัยรอบด้านอย่างยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนี
เข้าเมืองทั้งระบบไปจนถึงการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยตามร่างระเบียบ
ส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย พ.ศ. .... ในขณะเดียวกัน
กลไกระดับชาตินี้จะต้องสอดประสานกับกลไกและเครื่องมือระดับภูมิภาค โดยเฉพาะการเคลื่อนของคนใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจะยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ การผลักดันออกนอกประเทศคงไม่ใช่ทาง
แก้ปัญหาที่ประสบความส าเร็จและยั่งยืนไปทุกครั้ง แต่จะต้องแก้ปัญหาที่ “สาเหตุพื้นฐาน” ที่ผลักดันคนให้
เคลื่อนย้ายออกมาแบบไม่ปกติ โดยที่ไทยสามารถมีส่วนให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเพื่อเข้าไปสร้างโอกาส
หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น พื้นที่ชายแดน รวมถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายบริหารจัดการคนเข้าเมืองเพื่อ
วางกฎระเบียบการเคลื่อนย้าย (regulate) มากยิ่งขึ้นแทนที่จะเป็นการควบคุม (control) แต่เพียงอย่างเดียว
กฎเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์จะช่วยขจัดการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติที่จะพลันเปลี่ยนเป็นการค้า
มนุษย์ได้ดีกว่า
บทที่ 4 ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สืบเนื่องจากประเทศไทยมีการพึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจ าวัน
มากขึ้น โดยคนไทยร้อยละ 82.2 หรือประมาณ 57 ล้านคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์ถึง
10 ชม./วัน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามทางไซเบอร์ทั้งการหลอกลวง การขโมยข้อมูล การเรียกค่าไถ่
เป็นต้น เช่นเดียวกับความเสี่ยงของภาครัฐจากการเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์และการให้บริการสาธารณะ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นสิ่งจ าเป็นและต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกฝ่ายซึ่งรวมถึงความร่วมมือจากนานาประเทศ เพราะภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นภัยข้าม
ชาติเชื่อมโยงกับการก่ออาชญากรรมข้ามชาติที่กระทบต่อทุกมิติ ล าพังเพียงประเทศเดียวไม่สามารถจัดการได้
อย่างเด็ดขาด
[179]