Page 194 - kpiebook62002
P. 194

ซึ่งไม่ยืดหยุ่นเพียงพอต่อสภาพปัญหาในปัจจุบันยังเป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการป้องกันผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ

               และแม้จะมี “ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ”ปี 2012 ซึ่งพยายามจ าแนก “ผู้หลบหนีเข้า
               เมือง” ตามกลุ่มเป้าหมายมากกว่าจะมุ่งก าหนดนิยามเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) ชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติพันธุ์

               จากพม่า (2) กลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา (3) กลุ่มที่มีปัญหาความมั่นคงเฉพาะ เช่น ชาว

               โรฮิงญา ผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ชาวเกาหลีเหนือ และ (4) กลุ่มอื่น ๆ ที่เข้ามาอย่างถูกต้องหรือเข้ามาโดย
               การปลอมเอกสารเดินทางแล้วไม่กลับออกไป แต่ก็ยังไม่ได้น าไปบังคับใช้เพราะขาด ระเบียบส านัก

               นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย รองรับ หน่วยงานรับผิดชอบหลักยังแตกต่าง

               ไปตามประเภทผู้หลบหนีเข้าเมืองที่ไทยจ าแนกไว้ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติ
               พันธุ์จากพม่า กระทรวงแรงงานรับผิดชอบกลุ่มที่มีความจ าเป็นทางเศรษฐกิจอย่างแรงงานต่างด้านหนีเข้าเมือง

               3 สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบกลุ่มที่มีปัญหาความมั่นคง

               เฉพาะ และส านักงานต ารวจแห่งชาติรับผิดชอบผู้หลบหนีเข้าเมืองอื่น ๆ
                       นอกจากยังมีหน่วยงานที่เป็นกลไกเชิงปราบรามซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคง เช่น

               กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

               ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติทาง
               ทะเล เช่น กองทัพเรือ ศูนย์อ านวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) แต่กลไกเชิงปราบปราม

               เพื่อจัดการผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติยังมีปัญหาอยู่หลายประการ ได้แก่ การแยกส่วนหน่วยงานของต ารวจไทยที่

               จัดการคดีโดยหากเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ก็จะเป็นหน้าที่ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปราม
               การค้ามนุษย์ กองบัญชาการต ารวจสอบสวนกลาง แต่หากเกี่ยวข้องกับการลักลอบขนย้ายคนจะอยู่ในความ

               รับผิดชอบของรองผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติ (งานความมั่นคงและกิจการพิเศษ) เช่น ส านักงานตรวจคนเข้า

               เมือง กองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน ฯลฯ อีกทั้งในการจับกุมหากเจ้าหน้าที่ไม่มีความพยายามขยายผล
               ต่อส่วนความผิดฐานการค้ามนุษย์ศาลก็มักพิจารณายกฟ้องเพราะพิจารณาว่าไม่เข้าข่ายองค์ประกอบ

                       ในขณะที่ความร่วมมือของอาเซียนที่พัฒนาขึ้นในปี 2015 นั้นแม้จะมีลักษณะเฉพาะกิจและอาจยังไม่

               แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างจริงจังในการจัดการปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติก็ตาม แต่มีประโยชน์อยู่
               มากในการดึงให้ประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งต้นทางปลายทาง เช่น เมียนมา บังกลาเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

               ได้ร่วมหารือเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกัน ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติ

               ของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย
               ครั้งที่ 1 การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ วาระเร่งด่วน การประชุมวาระพิเศษว่าด้วย

               การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (Special Meeting on Irregular Migration in the Indian

               Ocean) ครั้งที่ 2 เป็นต้น โดยที่ในปี 2019 ที่ไทยเป็นประธานอาเซียนนี้เห็นถึงแนวโน้มที่อาเซียนเข้าไปมี
               บทบาทในการส่งกลับผู้ผลัดถิ่นในรัฐยะไข่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาด้วยการ “ประเมินผลความ

               จ าเป็น” และจัดตั้ง “คณะท างานทางเทคนิค” ที่เป็นการท างานร่วมกันทั้งส านักเลขาธิการอาเซียน ศูนย์

               ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Centre) กิจการ




                                                          [178]
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199