Page 196 - kpiebook62002
P. 196
ไทยมียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ส าคัญ คือ ยุทธศาสตร์การรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ที่จัดท าโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแผน
ยุทธศาสตร์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2563-2567 ซึ่งเป็นระเบียบพื้นฐานที่ทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องจะต้องจัดท านโยบายและแผนงานให้เป็นตามแนวทางที่ก าหนด รวมทั้งไทยมีกลไกที่เกี่ยวข้องงาน
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่สามารถแบ่งได้เป็นระดับนโยบาย เช่น สมช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม และระดับปฏิบัติ เช่น กสท. โทรคมนาคม บก.ปอท. ดีเอสไอ สพธอ อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงมีความ
ท้าทายที่เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ได้แก่ การสร้างความตระหนัก
เกี่ยวกับความปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ในวงกว้าง การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
และการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ดังนั้น การตรา พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จึงเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญใน
การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ได้ก าหนดให้มีคณะกรรมการ กมช.
เป็นกลไกหลักในการด าเนินนโยบายด้านความั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยเฉพาะการเป็นหน่วยงาน
แม่ในการบูรณาการและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและต่างประเทศ อีกทั้งกฎหมายยังบังคับให้
ทุกหน่วยงานมีมาตรการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีให้มีขีดความสามารถและเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ ตลอดจนการสร้างความตระหนักในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยโดยเริ่มตั้งแต่ภายในหน่วยงาน
จนถึงระดับประชาชน พร้อมกับส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนและวิชาการในการวิจัยและพัฒนาด้าน
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แต่ทั้งนี้การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทยอย่างเป็นรูปธรรมยังอยู่
ในระดับเริ่มต้น ซึ่งต้องใช้เวลาและเรียนรู้จากประสบการณ์และองค์ความรู้จากหลายๆ แหล่งเพื่อน ามา
ประยุกต์ใช้พัฒนาและต่อยอดการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย
เช่นเดียวกัน ความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับอาเซียนก็ถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น
เพราะเพิ่งเริ่มมีการผลักดันการยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างจริงจังเมื่อปี 2016
โดยได้จัดตั้งการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (AMCC) และโครงการยกระดับ
ความสามารถด้านไซเบอร์ของอาเซียน (ACCP) และตอกย้ าอีกครั้งในปี 2018 โดยสิงคโปร์ในฐานะประธาน
อาเซียนผ่านแถลงการณ์ร่วมของผู้น าอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการ
แสดงเจตนารมณ์ร่วมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งความท้าทายหลักของการพัฒนาความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับอาเซียน คือ หลักการพื้นฐานของความร่วมมือทั้งการไม่แทรกแซงกิจการ
ภายในและความสมัครใจ ท าให้ข้อตกลงหรือนโยบายต่างๆ ของอาเซียนที่คลุมเครือในการประเด็นอ านาจของ
รัฐไม่มีผลผูกมัดทางกฎหมาย ซึ่งกระทบต่อความพยายามที่จะยกระดับความมั่นคงปลอดไซเบอร์ร่วมในระดับ
ภูมิภาค เพราะการยกระดับไปพร้อมๆ กันของแต่ละประเทศเป็นหัวใจส าคัญของการจัดการภัยคุกคามทางไซ
เบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความตระหนักถึงความส าคัญของการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซ
เบอร์ที่แตกต่างกันของแต่ละชาติสมาชิกก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย อันเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของ
[180]