Page 197 - kpiebook62002
P. 197
ประเทศ อาทิ โครงสร้างเศรษฐกิจ และระดับความเป็นเศรษฐกิจ/สังคมดิจิทัล ท าให้การพัฒนาความร่วมมือ
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนต้องเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ส าหรับการศึกษาแนวทางและประสบการณ์การจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากต่างประเทศ
พบว่า สิงคโปร์ เอสโตเนีย และสหภาพยุโรป เป็นตัวอย่างที่ไทยและอาเซียนสามารถศึกษาและประยุกต์ให้เข้า
กับบริบทของตนได้ โดยสิงคโปร์มีปัจจัยผลักดันที่ส าคัญ คือ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจหลักของประเทศ
พึ่งพาระบบอนนไลน์มากขึ้น รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความส าคัญกับการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ
ประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นประเทศ Trusted and Robust Infocomm Hub โดยกลไกหลักในการ
ขับเคลื่อนนโยบาย คือ ส านักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติสิงคโปร์ (CSA) ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2015
ซึ่งภายใน CSA ยังประกอบไปด้วยกลไกส าคัญอย่าง SingCERT ส านักงานพัฒนาสารสนเทศและข้อมูล (IDA)
และหน่วยงานความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติสิงคโปร์ (SITSA) โดย
ท างานตามแนวทางยุทธศาสตร์ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2016 และกฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2018
อย่างไรก็ดี องค์ความรู้ด้านการจัดโครงการส่งเสริมการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยและภัย
คุกคามทางไซเบอร์ การพัฒนาหลักสูตร การดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพด้านไซเบอร์ให้มาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง
ความมั่นคงของประเทศ และการร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และวิชาการในการสนับสนุนการวิจัยและ
พัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ถือเป็นองค์ความรู้ที่ไทยสามารถน ามาปรับใช้เพื่อยกระดับความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ของไทยให้ดียิ่งขึ้น
เอสโตเนียมีจุดเด่นที่การจัดตั้งกองทุน Tiger Leap/Tiigrihüpe เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ
โครงสร้างพื้นฐานส าคัญด้านสารสนเทศ ซึ่งท าให้เอสโตเนียมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากประเทศ
เกษตรกรรมเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังขยายการใช้ระบบดิจิทัลไปในทุกมิติ
ของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศแรกของโลกที่ก้าวสู่การเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ หลัง
การถูกโจมตีทางไซเบอร์ปี 2007 เอสโตเนียได้ตระหนักความส าคัญในการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค
จึงได้ร่วมมือกับเนโต้จัดตั้งโครงการ Tiger Defense/ Tiigrikaitse หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ศูนย์ความเป็น
เลิศเพื่อความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของเนโต้ (CCDCOE) เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือทาง
ทหารในประเด็นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังมีหลายโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ
และเอกชนซึ่งต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ โดยภาครัฐได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีเพื่อต่อ
ยอดการพัฒนาประเทศ ขณะที่ภาคเอกชนได้แรงงานที่มีคุณภาพในการพัฒนาธุรกิจ นอกจากนี้ โครงการ
อาสาสมัคร CDL ก็ทางเลือกส าหรับแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดไซเบอร์ใน
ระยะสั้นได้ กล่าวได้ว่า โครงการต่างๆ ของเอสโตเนีย โดยเฉพาะการสนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา
ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลัก จะเป็นบทเรียนที่ดีส าหรับประเทศที่ต้องการสร้าง
ความตระหนักรู้ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดไซเบอร์
สหภาพยุโรปเป็นตัวอย่างของกลุ่มความร่วมมือภูมิภาคที่มีพลวัตด้านการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ สืบเนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศสมาชิกที่มีมากขึ้นในช่วงทศวรรษ 2000 สหภาพยุโรปจึง
[181]