Page 184 - kpiebook62002
P. 184

อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างชาติสมาชิกเพื่อลดอุปสรรคในการร่วมมือ

               ระหว่างประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ ตลอดจน
               การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ให้เป็นวาระส าคัญของทุกชาติสมาชิก ขณะเดียวกันก็ยังคง

               ส่งเสริมความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะภัยคุกคามไซเบอร์เป็นปัญหาที่ต้องอาศัย

               ความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายในประชาคมระหว่างประเทศ
                       สหภาพยุโรปมีพัฒนาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างเป็นระบบโดยเริ่มจากการหารือและ

               จัดท าแผน การจัดท ากรอบปฏิบัติเพื่อให้ชาติสมาชิกด าเนินตามไปในทิศทางเดียวกัน การจัดท ายุทธศาสตร์/

               ปรับปรุงตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งปัจจัยหลักที่ช่วยให้สหภาพยุโรปประสบความส าเร็จในการ
               ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ การบังคับใช้กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ

               เป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคไปพร้อมๆ กัน เพราะไม่ต้องการให้ประเทศใดประเทศ

               หนึ่งเป็นบ่อเกิดหรือปลายทางของภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงเป็นการรับประกันว่าความมั่นคงของรัฐกับ
               เสรีภาพของประชาชนจะเดินควบคู่กันไปบนพื้นฐานของค่านิยมสากล โดยรูปแบบการด าเนินการของสหภาพ

               ยุโรปสามารถน ามาปรับใช้กับอาเซียนได้ โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไกถาวรเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา

               ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ด้วยพื้นฐานความร่วมมือของอาเซียนที่อยู่บนหลักไม่
               แทรกแซงกิจการภายในและความสมัครใจ การบังคับใช้กฎระเบียบใดๆ จ าเป็นต้องท าอย่างค่อยเป็นค่อยไป

               เช่น ประเทศที่มีความพร้อมก็สามารถน าไปปฏิบัติใช้ทั้งหมด ส่วนประเทศที่ยังไม่พร้อมก็อาจปฏิบัติตาม

               หลักการส าคัญๆ ก่อน ซึ่งอย่างน้อยก็ท าให้พัฒนาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนมีทิศทางที่ดีขึ้น


               4.5 สรุปและข้อเสนอแนะ

                       การศึกษาท าให้พบว่า ประเทศไทยที่ก าลังก้าวสู่การเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบเริ่มหันมาให้
               ความส าคัญกับการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แม้ว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานได้ริเริ่มการพัฒนา

               ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาบ้างแล้ว แต่จะเน้นการด าเนินตามภารกิจของหน่วยงานเป็นหลัก ดังนั้น พ.ร.บ.

               การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ถือเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญของการพัฒนาความมั่นปลอดภัยไซ
               เบอร์ในไทย เพราะจะท าให้การจัดการกับความท้าทายในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ

               ประเทศมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการมีกลไกหลักในการรับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัย

               ไซเบอร์ การประสานและบูรณาการความร่วมมือ และมีทิศทางในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่
               ชัดเจนมากขึ้น ทั้งการส่งเสริมการสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยและภัยคุกคามของโลกออนไลน์ การ

               จัดตั้งกองทุน การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการผลักดันให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

               ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของตนด้วยเช่นกัน
                       ส าหรับอาเซียน ภูมิภาคที่มีความหลากหลายทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งมีผลให้

               การร่วมมือของกลุ่มอยู่บนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในและความสมัครใจ จึงเป็นความท้าทายส าหรับ

               การสร้างความร่วมมือในลักษณะข้อบังคับ โดยเฉพาะหากถูกมองว่าเป็นการก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศ




                                                          [168]
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189