Page 178 - kpiebook62002
P. 178

Vengerfeldt, and Reinsalu, 2009) จึงได้จัดตั้งกองทุนพยัคฆ์ทะยาน (Tiger Leap/Tiigrihüpe) ในปี 1997

               ตามข้อเสนอของ Toomas Hendrik Ilves รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี 1996 (ต่อมาเป็น
               ประธานาธิบดี) และ Jaak Aaviksoo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากการเล็งเห็นถึงความส าคัญของ

               คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่จะกลายเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างความรุ่งเรืองให้แก่ประเทศ

                       นโยบายเริ่มแรกของการจัดตั้งกองทุนคือ การสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์และการ
               เขียนโปรแกรมตั้งแต่ระดับเยาวชน ทั้งการพัฒนาครูผู้สอน การปรับปรุงหลักสูตรสู่คอมพิวเตอร์ขั้นสูง และการ

               จัดหาคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและเพียงพอแก่โรงเรียนทั่วประเทศ ความส าเร็จของการด าเนินงานของกองทุนท า

               ให้เอสโตเนียสามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ด้านไอทีได้เป็นจ านวนมาก และกลายเป็นประเทศ
               ผู้พัฒนาโปรแกรมที่ส าคัญของโลก เห็นได้จากสินค้าส่งออกหลักของประเทศร้อยละ 15 เป็นสินค้าเทคโนโลยี

               เช่น โปรแกรม Skype ขณะที่รายได้หลักของประเทศร้อยละ 66 มาจากภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบ

               อินเทอร์เน็ต (ธีรภัทร เจริญสุข, 2560) นอกจากนี้ เอสโตเนียยังได้รับการยอมรับในฐานะผู้น า e-state
               เนื่องจากน าเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทั้งระบบการบริการภาครัฐ (e-governance) และเชิงพาณิชย์ (e-commerce)

               ซึ่งท าให้เอสโตเนียก้าวสู่การเป็นประเทศที่มีระบบออนไลน์สมบูรณ์แบบหรือเรียกกันว่า E-stonia

                                                                 27
                       อีกทั้งหลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์เมื่อปี 2007  เอสโตเนียได้ร่วมมือกับองค์การสนธิสัญญา
               แอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อความร่วมมือ

               ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของเนโต้ (NATO Cooperative Cyber Defense Centre of Excellence:

               CCDCOE) หรือโครงการพยัคฆ์พิทักษ์ (Tiger Defense/Tiigrikaitse) เพื่อจัดตั้งศูนย์ป้องภัยทางไซเบอร์ร่วม
               ระหว่างชาติสมาชิก โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นกลจักรหลักในการขับเคลื่อน (ธีร

               ภัทร เจริญสุข, 2560) กล่าวได้ว่า การโจมตีดังกล่าวกระตุ้นให้เอสโตเนียด าเนินนโยบายเชิงรุกมากขึ้นทั้ง

               ภายในประเทศและระหว่างประเทศผ่านความร่วมมือกับนานาชาติในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
               รายงานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาโครงการ Tiigrihüpe และ Tiigrikaitse ซึ่งเป็นสองโครงการส าคัญที่ช่วยให้

               เอสโตเนียประสบความส าเร็จในการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งในระดับประเทศและระหว่าง

               ประเทศ
                       กองทุน Tiigrihüpe จัดตั้งขึ้นมาในปี 1997 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนชั้น

               ประถมศึกษาทั่วประเทศ โดนเฉพาะการเขียนโปรแกรมและพัฒนาองค์ความรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตลอดจน

               การจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์ ซึ่งช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์หลาย
               ประการทั้งด้านการเมือง ที่ต้องการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยผ่านการมีเสรีภาพการสื่อสารบนโลก

               ออนไลน์ เนื่องจากในทศวรรษ 1990 เอสโตเนียพึ่งเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต ความ




               27  เอสโตเนียถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการเจาะเข้าระบบและเว็บไซต์ของทางราชการและเอกชนเพื่อไม่ให้ใช้งานได้ (distributed denial of
               service: DDoS) หลังจากรัฐบาลมีค าสั่งย้ายอนุสรณ์ระลึกการต่อสู้ของโซเวียตต่อนาซี ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่รัสเซียและคนเอสโตเนียเชื้อสาย
               รัสเซีย ท าให้รัสเซียถูกกล่าวว่าอยู่เบื้องหลังการกระท าดังกล่าว เนื่องจากมีการจับกุมคนเอสโตเนียเชื้อสายรัสเซีย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ สส. ของ
               รัสเซีย


                                                          [162]
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183