Page 173 - kpiebook62002
P. 173
บูรณาการญี่ปุ่น-อาเซียนระยะที่สอง (Japan-ASEAN Integration Fund 2.0) ซึ่งมีส านักเลขาธิการอาเซียน
และกระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์เป็นผู้ด าเนินการหลักของโครงการนี้
โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์อาเซียนเน้นการพัฒนานโยบายและแลกเปลี่ยนความ
ร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างชาติสมาชิกและญี่ปุ่น ตั้งแต่การทบทวนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ
การฝึกอบรมด้านการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ การเผยแพร่/แลกเปลี่ยนผลงาน การสัมมนา
แลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดประชุมระหว่างผู้ก าหนดนโยบาย และการสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซ
เบอร์ที่มีผลกระทบแก่ทุกฝ่าย
ความส าเร็จของโครงการนี้ ได้แก่ 1) การส่งเสริมการประสานความร่วมมือของผู้ก าหนดนโยบายและ
ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เห็นได้จาก ช่วงการด าเนินโครงการตั้งแต่ปี 2016-
2018 มีการจัดโครงการฝึกอบรมจ านวน 9 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมจากทั่วภูมิภาคมากกว่า 250 คน และอีกราว 25
คนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ที่มาจากทั่วโลก 2) การทบทวนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ
ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความสามารถด้านความมั่นคงไซเบอร์ในภูมิภาคแล้ว 4 ประเทศ ทั้งในด้านการป้องกัน
ควบคุมและสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายและการมีกฎระเบียบที่เพียงพอต่อ
การรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบัน 3) ในการสัมมนาเผยแพร่ผลงานทางไซเบอร์ในปี 2017 พบว่า
มีผู้เข้าร่วมสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และวิชาการ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย 20 คนจากทั่ว
อาเซียนได้ใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูลอาชญากรรมทางไซเบอร์กับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ
ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศอย่างต ารวจสากล และ 4) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในการจัด
สัมมนาว่าด้วย Workshop on acquiring cybercrime investigation-related information across multi-
jurisdictions for law enforcement agencies and judicial authorities ในปี 2017 ได้มีผู้เข้าร่วมกว่า 30
คน ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางและความท้าทายในการด าเนินการกระบวนการยุติธรรมด้าน
อาชญากรรมไซเบอร์
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเน้นการสร้างความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เป็นส าคัญผ่านโครงการสัมมนาและการฝึกอบรม เพื่อเป็นการสนับสนุนการยกระดับ
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาค โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ต้องการเข้ามามีบทบาทน าในด้านนี้ อย่างไรก็ตาม
การเข้ามาของญี่ปุ่นก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแข่งขันเป็นผู้น าด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาค
ระหว่างญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ (ญาณพล ยั่งยืน, 2562) ซึ่งมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ
เป็นวาระซ่อนเร้น ถึงกระนั้น หากมองในมุมบวก การร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาก็เป็นส่วนเสริมในความ
พยายามของอาเซียนที่จะพัฒนาความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งการจับคู่ความร่วมมือใน
ระดับทวิภาคีก็มีความคล่องตัวมากกว่า ซึ่งอาจช่วยให้การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภายในภูมิภาคมี
แนวโน้มที่ดีมากขึ้น
[157]