Page 176 - kpiebook62002
P. 176
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในภาคส่วนที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจสิงคโปร์
อย่างการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ
4) กระชับความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพราะภัยคุกคามทางไซ
เบอร์เป็นปัญหาข้ามชาติที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมมือกัน อันเป็นส่วนส าคัญในการสร้างความ
รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน
สิงคโปร์ยังได้ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วยการจัดตั้งโครงการวิจัย
และพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cybersecurity R&D Program) ในปี 2013
โดยมีกลไกหลักอย่างกองทุนวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนส าคัญเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และยกระดับขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคาม อันเป็นสร้างความเชื่อมั่นและ
ความไว้วางใจของสิงคโปร์ด้านการปกป้องข้อมูลสารสนเทศในประชาคมระหว่างประเทศ
ขณะที่ ในปี 2018 สิงคโปร์ได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Act)
ภายใต้วัตถุประสงค์ 4 ข้อหลัก ได้แก่ 1) เพิ่มการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศที่ส าคัญ เช่น
พลังงาน ธนาคาร บริการสุขภาพ คมนาคม โทรคมนาคม เป็นต้น ซึ่งการถูกโจมตีทางไซเบอร์จะส่งผลกระทบ
อย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม 2) เพิ่มอ านาจให้ CSA ในการรับมือและตอบโต้ภัยคุกคามมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ เพื่อสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในการใช้ช่องทางออนไลน์ของสิงคโปร์ 3) เป็นกรอบส าหรับ
ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ และ 4) เพื่อเป็นกรอบส าหรับออกใบอนุญาตแก่ผู้ให้บริการ
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Agency of Singapore, 2019)
นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสิงคโปร์ก็สามารถเป็น
บทเรียนส าหรับไทยในการน ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมทั้งพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้อง
อาทิ (Cyber Security Agency of Singapore, 2018b)
1) โครงการ Government Bug Bounty Program เพื่อเชิญแฮกเกอร์ทั้งระดับโลกและ
ภายในประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่ม white-hat hacker มาทดสอบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตของรัฐบาล
โดยมีกระทรวงกลาโหมท าหน้าที่ก ากับดูแล
2) การจัดสัมมนาสัปดาห์ไซเบอร์ระหว่างประเทศ (Annual Singapore International Cyber
Week) ซึ่งในการจัดงานครั้งที่ 2 ปี 2017 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 7,000 คน จาก 50 ประเทศ ซึ่งช่วยเสริมสร้าง
บทบาทน าแก่สิงคโปร์บนเวทีระหว่างประเทศ
3) พัฒนาหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เช่น หลักสูตร SkillsFuture Work Study
Degree and Earn and Learn แก่นักเรียนนักศึกษาที่ให้ความสนใจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ
การส่งเสริมหลักสูตรด้านความมั่นคงไซเบอร์แก่ผู้พึ่งส าเร็จการศึกษาหรือคนวัยท างานที่ต้องการเปลี่ยนสาย
งานอย่าง Cyber Security Associates and Technologists (CSAT) Program และ Professional
Convention Program
[160]