Page 166 - kpiebook62002
P. 166
แผนภูมิที่ 4.2 งบประมาณด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอาเซียน (2017-2025)
70
62
60
50
40
30
23 23.3 22.8
20 17
13.6
9.1 9.1 8.8 9.5
10 6.6 5.3
2.4 3.7
0
งบฯ ด้านความมั่นคงไซเบอร์ งบฯที่เหมาะสม
หน่วย: พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมาเหตุ: งบประมาณที่เหมาะสมเป็นการเทียบกับอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่มีงบประมาณด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ในสัดส่วนที่ดีที่สุดต่อ GDP (best-in-class benchmark) โดยในปี 2017 อิสราเอลมีงบฯ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ร้อยละ 0.35 ต่อ GDP
ที่มา: Bangkok Post
ความไม่พร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ท าให้อาเซียนเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่มากขึ้น โดยจากรายงานของ Malware Infection Index
ของ Microsoft ปี 2016 แสดงให้เห็นว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศอันดับ 2 รองจากปากีสถาน ขณะที่เวียดนาม
ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นประเทศกลุ่มเสี่ยงอันดับ 5, 6, 7, 10, 11 และ 12
ตามล าดับ (Chang, 2017, 138-141) อีกทั้งยังพบว่า การโจมตีทางไซเบอร์มีความเกี่ยวพันกับประเด็น
การเมืองระหว่างประเทศ อย่างในกรณีของข้อพิพาททะเลจีนใต้ ซึ่งในปี 2016 มีการขโมยข้อมูลผู้โดยสารกว่า
400,000 คนของสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์ ขณะเดียวกันสนามบินนานาชาติฮานอยและโฮจิมินท์ก็ถูกเจาะ
ระบบเพื่อส่งข้อความเกี่ยวกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ รวมทั้งกระทรวงยุติธรรมของฟิลิปปินส์ถูกโจมตีด้วยโทร
จัน NanHaiShu เพื่อขโมยข้อมูลและท าให้ระบบท าการล่ม การโจมตีเว็บไซต์รัฐบาลไทยกว่า 300 เว็บไซต์ของ
กลุ่มแฮกเกอร์ในเมียนมาในปี 2016 เพื่อท าให้ระบบล่มไม่สามารถให้บริการได้ (DDoS) จากกรณีการจับกุม
แรงงานเมียนมาสองคนในข้อหาฆาตกรรมนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่า หรือในปี 2013 มีการโจมตีเว็บไซต์ของ
ออสเตรเลียของกลุ่มแฮกเกอร์อินโดนีเซียเพื่อตอบโต้ข่าวการจารกรรมข้อมูลของรัฐบาลออสเตรเลีย
ความอ่อนแอด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียน ยังท าให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นแหล่งก าเนิดภัย
คุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จากข้อมูลพบว่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีตรวจพบ
[150]