Page 163 - kpiebook62002
P. 163

4.3 อาเซียนกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

                       ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้กลายเป็นวาระหลักของความร่วมมือในระดับอาเซียนเมื่อปี 2018 ครั้ง
               ที่สิงคโปร์ท าหน้าที่เป็นประธานอาเซียน ท าให้การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีความ

               รุดหน้ามากขึ้นทั้งในระดับอาเซียนและกับประเทศคู่เจรจา เห็นได้จาก แถลงการณ์ร่วมของผู้น าอาเซียนว่าด้วย

               ความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN Leaders’ Statement on Cybersecurity
               Cooperation) แถลงการณ์ร่วมของผู้น าอาเซียนกับสหรัฐฯ ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซ

               เบอร์ (ASEAN-United States Leaders’ Statement on Cybersecurity Cooperation) แถลงการณ์

               ระหว่างอาเซียนกับรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความปลอดภัยในการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี
               สารสนเทศ (Statement of ASEAN and the Russian Federation on Cooperation in the Field of

               Security of and in the Use of Information and Communications Technologies) แถลงการณ์ร่วม

               ของผู้น าเอเชียตะวันออกว่าด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดด้านการปกป้องข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ
               เศรษฐกิจดิจิทัล (East Asia Summit Leaders’ Statement on Deepening Cooperation in the Security

               of Information and Communications Technologies and of The Digital Economy) รวมถึงการสร้าง

               ความร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างการเห็นชอบการพัฒนาแนว
               ทางการสร้างเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (Concept Note of the ASEAN Smart Cities Network)

               แถลงการณ์ร่วมระหว่างอาเซียนกับจีนว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

               (Joint  Statement  on  ASEAN-China  Science,  Technology  and  Innovation  Cooperation)  ซึ่ ง
               สาระส าคัญของความร่วมมือและกลไกที่ส าคัญมีดังนี้

                       1. แถลงการณ์ร่วมของผู้น าอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สาระส าคัญ

               คือ การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะอยู่ภายใต้บรรทัดระหว่างประเทศด้านไซเบอร์
               อันเป็นที่ยอมรับของประชาคม ขณะเดียวกันจะไม่เป็นการลิดรอนอ านาจอธิปไตยของชาติสมาชิกต่อการ

               ก าหนดและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพราะจ าเป็นต้องสร้างความ

               เชื่อมั่นและไว้วางใจในการร่วมมือซึ่งกันและกัน
                       โดยจะส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือผ่านกลไกที่อาเซียนมีอยู่ ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรี

               อาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime: AMMTC)

               การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (ASEAN
               Telecommunications and Information Technology: TELMIN) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความ

               มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ASEAN Ministerial Conference on Cybersecurity: AMCC) โครงการยกระดับ

               ความสามารถด้านไซเบอร์ของอาเซียน (ASEAN Cyber Capacity Program: ACCP) ตลอดจนการสร้างความ
               ร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนผ่านการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค

               เอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ในประเด็นความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ARF Inter-Sessional

               Meeting on Security of and in Use of ICT) คณะท างานระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซ




                                                          [147]
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168