Page 158 - kpiebook62002
P. 158

ในด้านกฎหมาย ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบ่งออกเป็น 3

               หมวด คือ กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมการด าเนินกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของ
               ทั้งภาครัฐและเอกชน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก ากับดูแลตลาดการเงินและตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมาย

               ว่าด้วยการกระท าความผิดทางคอมพิวเตอร์ ที่ส าคัญปัจจุบัน ไทยมี พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซ

               เบอร์ พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดท ากฎหมายฉบับนี้ คือ
               ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ โครงสร้างพื้นฐานส าคัญทาง

               สารสนเทศ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จึงมีกฎหมายที่เสริมสร้างความสามารถในการป้องกันหรือ

               รับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
                       ส่วนที่หนึ่ง กลไกหลักในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นขั้นตอนเตรียมพร้อมและ

               เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

               แห่งชาติ (กมช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีคณะกรรมการก ากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
               (กกม.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ท าหน้าที่ติดตามและ

               ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และมีส านักงาน

               คณะกรรมการ กมช. ท าหน้าฝ่ายเลขานุการ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางประสานงาน สนับสนุน ศึกษาวิจัย
               รวบรวม และเผยแพร่ข้อมูลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และด าเนินการยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญ

               ของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนท าข้อตกลงกับต่างประเทศ กล่าวได้ว่า

               คณะกรรมการ กมช. มีบทบาทส าคัญในการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทยตั้งแต่ต้นน้ าจนถึง
               ปลายน้ า และจะเป็นหน่วยงานที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดหน่วยงานหลักในการพัฒนาและประสานความ

               ร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

                       ส่วนที่สอง นโยบายและแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กฎหมายฉบับนี้ผลักดันให้ทุกฝ่าย
               ที่เกี่ยวข้องต้องจัดท าแผนและนโยบายให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อ

               เศรษฐกิจและสังคม และของสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีเป้าหมาย 8 ประการ ดังนี้ 1) บูรณาการการ

               จัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2) พัฒนามาตรการและกลไกเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัย
               คุกคามทางไซเบอร์ 3) ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานส าคัญทางสารสนเทศ 4) ส่งเสริมการประสานความร่วมมือกับ

               ทุภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ 5) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง

               ปลอดภัยไซเบอร์ 6) พัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 7) สร้างความตระหนักรู้
               ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 8) พัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซ

               เบอร์ ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานส าคัญทางสารสนเทศ

               จ าเป็นต้องตรวจสอบเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อันเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางไซเบอร์อีก
               ทางหนึ่ง

                       ส่วนที่สาม การรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ สารระส าคัญของส่วนนี้ คือ การก าหนดขอบเขต

               อ านาจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้อถกเถียงในสังคมไทยเกี่ยวกับอ านาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชน ในประเด็น




                                                          [142]
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163