Page 153 - kpiebook62002
P. 153
ความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจ านวนประชากร 100 คน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52.3 เป็นร้อยละ 79.9 ท า
ให้ไทยขยับจากอันดับที่ 38 มาเป็นอันดับที่ 23 ของโลก (ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2561)
ขณะที่ผลส ารวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประจ าปี 2018 ของ สพธอ. (2562)
20
พบว่า คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 10 ชม. ต่อวัน โดยเฉพาะคน Gen Y ที่เน้นใช้งานโปรแกรมสังคม
ออนไลน์มากที่สุด เช่น Facebook, Instagram, Twitter รวมถึงเว็บไซต์พันทิพย์ ที่มีค่าเฉลี่ยการใช้งานราว
3.30 ชม. ตามมาด้วยการรับชมวีดีโอผ่านโปรแกรมยอดนิยมอย่าง YouTube และ Line TV ประมาณ 2 ชม.
ต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันเพื่อการสนทนา อาทิ Messenger และ Line ราว 2 ชม. ต่อวัน เล่นเกมออนไลน์ 1.50
ชม. ต่อวัน อ่านบทความหรือหนังสือออนไลน์ 1.30 ชม. ต่อวัน นอกจากนี้ ยังพบว่า การด าเนินกิจกรรม
ประจ าวันของคนไทยมุ่งไปสู่การเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปบแบบ โดยปัจจุบันคนไทยมีการส่งข้อความผ่าน
ทางออนไลน์ร้อยละ 94.5 จองโรงแรมร้อยละ 89.2 จอง/ซื้อตั๋วรถโดยสารร้อยละ 87 ช าระค่าสินค้าและ
บริการร้อยละ 82.8 และดูหนังฟังเพลงร้อยละ 78.5
อย่างไรก็ตาม คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงจะถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางออนไลน์จากพฤติกรรม
การใช้งานที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ การไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน และการเปิดเผยวันเดือนปีเกิดจริงผ่านสื่อ
ออนไลน์ร้อยละ 45 เท่ากัน การท าธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 44 การเปิดจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) ที่มีแหล่งที่มาไม่น่าเชื่อถือหรือไม่รู้จักร้อยละ 43 และการอัปโหลดรูปหรือวีดีโอทันที
21
หลังบันทึกภาพผ่านโลกออนไลน์ร้อยละ 35 โดยกลุ่ม Baby Boomer เป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงที่จะถูก
ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลมากที่สุด สอดคล้องกับรายงานของบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ Frost & Sullivan ในปี
2018 พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการอย่างเพียงพอต่อการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น
โดยจ าเป็นต้องยกระดับขีดความสามารถทั้งด้านเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การบังคับใช้
กฎหมาย และยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเพื่อรองรับด้านการจัดการระบบข้อมูล
สารสนเทศ
โดยผลการวิเคราะห์ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากสหภาพโทรคมนาคมระหว่าง
ประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ในปี 2017 พบว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความ
มั่นคงปลอดภัยในระดับสูงอยู่ใน 20 อันดับแรกของโลก แต่ยังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การจัดการ
องค์กรทั้งด้านการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์และระบบเมกตริกของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และด้าน
ความร่วมมือที่ไทยจะต้องมีการด าเนินงานเชิงรุกด้วยการร่วมมือในระดับพหุภาคี การบูรณาการระหว่าง
หน่วยงาน และการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชน ขณะที่ผลส ารวจของสถาบันระหว่าง
ประเทศเพื่อการพัฒนาด้านการจัดการ (International Institute of Management Development: IMD)
ในปี 2018 ซึ่งวัดขีดความสามารถด้านการแข่งขันบนโลกดิจิทัลของชาติสมาชิก พบว่า ไทยเป็นประเทศล าดับ
ที่ 39 จากทั้งหมด 63 ประเทศ จากการพิจารณาในประเด็นทักษะของประชากร การศึกษา ความใส่ใจทางด้าน
20 กลุ่มคนที่เกิดช่วงปี 1980-2000 เป็นช่วงวัยที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต
21 กลุ่มคนที่เกิดช่วงปี 1946-1964
[137]