Page 151 - kpiebook62002
P. 151
ความเชี่ยวชาญ สร้างความตระหนักในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีความรับผิดชอบ ส่งเสริมการแนวทางป้องกัน
และปราบปราม และยกระดับบทบาทของไทยบนเวทีระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็น
ประเด็นที่กว้างและมีความเกี่ยวข้องกับทั้งภาครัฐและเอกชน กล่าวคือ รัฐเป็นผู้ก าหนดนโยบายและระเบียบให้
ภาคส่วนอื่นๆ พัฒนาตามกรอบเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ขณะที่
ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นผู้เล่นหลักบนเวทีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพราะเป็นให้ผู้
บริการที่มีทั้งโครงข่ายไซเบอร์และข้อมูลของผู้รับบริการ การรับมือกับภัยคุกคามจึงต้องอาศัยความร่วมมือกับ
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้จะเน้นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซ
เบอร์ของรัฐเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย ของอาเซียน และบทเรียนที่ไทย
สามารถน ามาประยุกต์เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือ
ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นความจ าเป็นที่จะต้องสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อการ
จัดการกับภัยคุกคามข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1 นิยามของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถือเป็นประเด็นใหม่ในสังคมไทย แม้ว่า คนไทยส่วนใหญ่จะมีความคุ้นชิน
กับการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจ าวัน ดังนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันจึงจ าเป็นต้องมีนิยามที่
ชัดเจนต่อประเด็นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งตามมาตรา 3 ของ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซ
เบอร์ พ.ศ. 2562 นิยามไว้ ดังนี้
ไซเบอร์ คือ “ข้อมูลและการสื่อสารที่เกิดจากการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายโทรคมนาคม รวมทั้งการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมและระบบเครือข่าย
ที่คล้ายคลึงกัน ที่เชื่อมต่อกันเป็นการทั่วไป”
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ คือ “การกระท าหรือการด าเนินการใดๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือ
ส่งผลกระทบต่อการท างานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง”
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ “มาตรการหรือการด าเนินการที่ก าหนดขึ้นเพื่อป้องกัน
รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศอันกระทบต่อความ
มั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ”
โครงสร้างพื้นฐานส าคัญทางสารสนเทศ คือ “คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งหน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานเอกชนใช้ในกิจการของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ความ
ปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ”
ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานส าคัญทางสารสนเทศ ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงของรัฐ ด้านการบริการภาครัฐที่
[135]