Page 150 - kpiebook62002
P. 150

ผลประโยชน์หรือกระท าความผิดในรูปของอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยจากรายงานของ McAfee (2018) ได้

               ระบุถึงการตรวจพบการกระท าความผิดทางคอมพิวเตอร์ในปี 2016 ซึ่งมีการตรวจพบมัลแวร์ประมาณ 80,000
               ล้านครั้งต่อวัน ตรวจพบเป็นมัลแวร์ตัวใหม่ประมาณ 300,000 ตัวต่อวัน นอกจากนี้ คณะท างานต่อต้านการ

               หลอกลวงทางออนไลน์ (Anti-Phishing Working Group: APWG) รายงานอีกว่า มีการหลอกลวงผ่านทาง

               ออนไลน์กว่า 1.2 ล้านครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเรียกค่าไถ่ (ransomware) โดยส านักงานสอบสวน
               กลางสหรัฐฯ (Federal Bureau of Investigation: FBI) รายงานว่า มีการเรียกค่าไถ่ราว 4,000 ครั้งต่อวัน

               รวมทั้งมีการขโมยข้อมูล (hacking) ประมาณ 4,800 ครั้ง หรือ 780,000 ครั้งต่อวัน สร้างความสูญเสียราว

               445,000-608,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.59-0.8 ของ GDP รวมกันทั้งหมดของโลก เฉพาะ
               เอเชีย-แปซิฟิก ถูกประเมินว่า จะสูญเสียจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ประมาณ 120,000-200,000 ล้าน

               เหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.53-0.89 ของ GDP ของภูมิภาค

                       ส าหรับประเทศไทย การเสนอแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) คือ ตัวอย่างของความ
               พยายามของภาครัฐในการปรับตัวด้วยการก าหนดยุทธศาสตร์และนโยบายตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสังคม

               ที่มีความสมดุลและยกระดับความสามารถของประเทศ อีกทั้งยังเห็นได้จาก ความส าคัญต่อการก าหนด

               ยุทธศาสตร์และนโยบายที่มีความครอบคลุมถึงการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ส านักงานสภาความ
               มั่นคงแห่งชาติ, 2561) อาทิ ข้อ 5 ในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีที่กล่าวถึงการเสริมสร้างความมั่นคงทาง

               เทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงแบบองค์รวม หรือนโยบายความมั่นคง

               แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ที่ก าหนดให้ภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นปัญหาที่ประเทศจะต้องมี
               ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการบูรณาการ

               ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการประสานความร่วมมือ สร้างความร่วมมือกับนานาชาติ

               โดยเฉพาะในกรอบความร่วมมืออาเซียน และยกระดับขีดความสามารถขององค์กรและระเบียบกฎหมายเพื่อ
               ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและความเชี่ยวชาญในการรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซ

               เบอร์

                       รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ได้ก าหนดยุทธศาสตร์ที่ 5 เกี่ยวกับการ
               พัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนด้วยการเตรียมรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงต่างๆ ประกอบด้วย

               ยุทธศาสตร์ที่ 7 คือ การเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อสร้างสังคมดิจิทัล ตลอดจน

               แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก าหนดให้ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การสร้างสังคมดิจิทัลคุณภาพด้วยการ
               เข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์

               จากเทคโนโลยีดิจิทัล และยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและมาตรฐานของระบบไซ

               เบอร์
                       ที่ส าคัญไทยยังมียุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (2560-2564) ที่มุ่งมั่น

               พัฒนาขีดความสามารถในการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัย

               เสี่ยงจากการก้าวสู่การเป็นสังคมดิจิทัล ผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน พัฒนาบุคลากรให้เกิด




                                                          [134]
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155