Page 149 - kpiebook62002
P. 149
บทที่ 4
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
19
ปัจจุบันโลกอยู่ในช่วงการปฏิวัติคลื่นลูกที่สาม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Communication Technology: ICT) การให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์
เชื่อมต่อต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ าวันมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลในปี 2016 ประชากรกว่าครึ่งหนึ่ง
ของโลกหรือราว 3.5 ล้านคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และคาดการณ์ว่า ภายในปี 2020 จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตมากกว่า 12,000 ล้านเครื่อง (International Telecommunication Union, 2018) อีกทั้งจาก
สถิติของ Internet World Stats (2019) พบว่า ประชากรโลกราว 4,300 ล้านคน หรือร้อยละ 56.8 เข้าถึง
อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 1,000 ในช่วงเวลาสองทศวรรษ ซึ่งไม่เพียงมีผลกระทบใน
ชีวิตประจ าวันเท่านั้น แต่ยังมีผลถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจและ
การปรับตัว โดยเฉพาะเมื่อสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจ าวันสามารถท างานผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นการ
เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ไปอย่างมาก ทั้งนี้ สถาบัน McKinsey Global Institute (2013) ได้จัดล าดับ
เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบต่อมนุษย์อย่างมาก 12 อันดับแรก เรียกว่าเป็น Disruptive Technology ได้แก่
1) อินเทอร์เน็ตไร้สาย (mobile internet) 2) การประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ (automation of
knowledge work) ที่ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลจ านวนมหาศาลหรือวินิจฉัยโรคท าได้แม่นย าและรวดเร็วมาก
ขึ้น 3) อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) สิ่งของต่างๆ จะมีการเชื่อมการท างานผ่านระบบ
ไร้สายหรือระบบอัตโนมัติ 4) หุ่นยนต์ล้ าสมัย (advanced robotics) จะมีการน าหุ่นยนต์มาใช้ในชีวิตประจ าวัน
มากขึ้น 5) ระบบคาวด์ (Cloud technology) น าไปสู่การสร้างสังคมไร้กระดาษ (paperless society) 6)
ยานพาหนะไร้คนขับ (autonomous vehicle) 7) ยีนส์ปรับแต่งพันธุกรรม (next-generation genomics)
ผู้คนจะมีอายุยืนมากขึ้นจากความสามารถในการรักษาโรคต่างๆ จากการพัฒนาสายพันธุ์หรือการปรับแต่งยีนส์
8) เทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน (energy storage) 9) เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D printing)
10) วัสดุล้ าสมัย (advanced materials) วัสดุที่รวมข้อดีทั้งน้ าหนักเบา คงทนทุกสภาพแวดล้อม แข็งแกร่ง
และสามารถน าไปใช้ได้หลากหลาย 11) เทคโนโลยีการส ารวจและขุดเจาะแหล่งพลังงาน (advanced oil and
gas exploration recovery) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อความคุ้มค่าและลดการเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
และ 12) พลังงานทดแทน (renewable energy) ทั้งพลังงานลม แสงอาทิตย์ คลื่นทะเล ความร้อนใต้พิภพ
และชีวมวล
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตประกอบกับเครื่องมือต่างๆ สามารถท างานผ่านระบบออนไลน์ช่วยอ านวย
ความสะดวกในการด าเนินชีวิตประจ าวันมากขึ้น ถึงอย่างนั้น กลุ่มผู้ไม่หวังดีก็ใช้ช่องทางเดียวกันแสวงหา
19 คลื่นลูกแรกคือ การปฏิวัติเกษตรกรรม และคลื่นลูกที่สองคือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
[133]