Page 152 - kpiebook62002
P. 152

ส าคัญ ด้านการเงินและธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้าน

               พลังงานและสาธารณูปโภค และด้านสาธารณสุข
                       ขณะที่ นิยามโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อาทิ ความมั่นคง (security) คือ

               การลดความเสี่ยงจากการบุกรุกหรือโจมตีโครงสร้างพื้นฐานและทางไซเบอร์ การเสริมสร้างความสามารถ

               (resilience) คือ ความสามารถในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และทนต่อการถูกบุกรุก
               หรือโจมตี ตลอดจนความสามารถในการฟื้นฟูระบบอย่างทันท่วงที โลกไซเบอร์ (cyber space) คือ พื้นที่

               เสมือนจริงที่ขยายไปตามเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การส่งผ่านข้อมูลที่มีมากขึ้นยิ่งก่อให้เกิดการขยายพื้นที่และ

               ความซับซ้อนของโลกไซเบอร์ หรือการโจมตีทางไซเบอร์ที่สนับสนุนโดยรัฐ (state-sponsored attack) ที่ถือ
               เป็นเครื่องมือเชิงลบในการด าเนินนโยบายของหลายประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการหรือความไม่ต้องการ

               อันเป็นการกดดันให้อีกรัฐหนึ่งปฏิบัติตามทิศทางที่ตนเองต้องการ นอกจากนี้ อนุสัญญาอาชญากรรม

               คอมพิวเตอร์ปี 2001 (Convention on Cybercrime) ได้นิยามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เป็นการ
               กระท าต่อปัจเจกชนหรือกลุ่มบุคคลด้วยเจตนาที่มุ่งร้ายหวังผลให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ความเสียหายต่อร่างกาย

               หรือจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการกระท าที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ”


               4.2 ไทยกับสังคมดิจิทัล

                       ไทยตระหนักถึงความส าคัญของการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เนื่องจากการก้าวสู่สังคมดิจิทัล

               ของไทย ซึ่ง disruptive technology ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ าวันมากขึ้น อีกทั้งภาครัฐของไทยก็มี
               การส่งเสริมการสร้างสังคมดิจิทัล เช่น สังคมไร้เงินสด (cashless society) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-

               commerce) นโยบายพัฒนาการบริการสาธารณะอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) และการผลักดันการใช้

               เทคโนโลยีเพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุและทดแทนวัยแรงงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีการพัฒนาความ
               มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ควบคู่กันไป เช่นที่สุรางคณา วายุภาพ ผู้อ านวยการส านักงานพัฒนาธุรกรรมทาง

               อิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กล่าวว่า “ไทยจ าเป็นต้องยกระดับความตระหนักถึงความส าคัญของความมั่นคง

               ปลอดภัยไซเบอร์ผ่านการร่วมมือกับทุกภาคส่วน เนื่องจากการมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ดีจะเป็นพื้นฐาน
               ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล” (Bangkok Post, 2018b)

                       จากข้อมูลของ Internet World Stats (2019) พบว่า คนไทยราว 57 ล้านคน หรือร้อยละ 82.2

               เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ถือเป็นประเทศที่คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดอันดับ 8 ของเอเชีย เป็นรองบรูไน ฮ่องกง
               ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเก๋า สิงคโปร์ และไต้หวัน สอดคล้องกับผลส ารวจความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ

               ของเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ในช่วงปี 2015-2016 พบว่า ไทยเป็นประเทศ

               ที่มีจ านวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากร 100 คนมากเป็นอันดับที่ 31 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 34 จาก
               ผลส ารวจช่วงปี 2014-2015 อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่มีประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่ในระดับ

               ที่สูง โดยดูจากปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่างประเทศ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต







                                                          [136]
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157