Page 154 - kpiebook62002
P. 154
วิทยาศาสตร์ ข้อระเบียบที่เกี่ยวข้อง การลงทุน โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ทัศนคติที่ดีต่อสังคมดิจิทัล
การด าเนินธุรกิจ และการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยหากวิเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการ
เสริมสร้างความมั่นปลอดภัยไซเบอร์ จะพบว่า ไทยจะต้องมีการปรับปรุงในประเด็น e-government ที่มี
คะแนนในล าดับที่ 55 การเคารพในลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญามีคะแนนล าดับที่ 56 และการพัฒนาความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่อยู่ในล าดับ 38 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 4.3 และแผนภูมิที่ 4.4)
เช่นเดียวกับ นักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จ ากัด และ
ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่มองว่า ประเทศไทยยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ที่เหมาะสมกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะแม้ว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยจะมีการ
ลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยยังคงเผชิญกับปัญหาในการยกระดับกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้มีความทันสมัย ท าให้การปกป้องหรือเก็บข้อมูลท า
ได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญในการสร้าง
ความพร้อมส าหรับรับมือกับความท้าทายจากโลกยุคข้อมูลสารสนเทศในปัจจุบัน ส าหรับปัญหาการขาดแคลน
ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีสาเหตุมาจาก ประการแรก ระบบการศึกษาของไทย เนื่องจากมี
นักศึกษาจบใหม่แค่ร้อยละ 20 ที่มีคุณสมบัติและความรู้เหมาะสมกับการประกอบอาชีพด้านความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ อันเป็นผลจากการขาดแคลนหลักสูตรด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และอุปกรณ์
การสอนที่ทันสมัยซึ่งมีราคาสูง สัมพันธ์กับข้อมูลของสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Thailand
Information Security Association: TISA) ที่แสดงจ านวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ใน
ไทยนั้นน้อยกว่า 2,000 คน ประการต่อมา คือ ช่องว่างทางรายได้ โดยพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีรายได้เฉลี่ยเพียงร้อยละ 10-15 ของต าแหน่งงานเดียวกันในบริษัทเอกชน
สอดคล้องกับปริญญา หอมเอนก กรรมการและเลขานุการสมาคม TISA ได้สะท้อนให้เห็นว่า ไทยจ าเป็นต้อง
สร้างวัฒนธรรมในการตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยไซเบอร์ผ่านการให้ความรู้และการฝึกอบรม อีกทั้งไทยยัง
ขาดกฎหมายและระเบียบที่สามารถบังคับใช้ให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้อย่างเหมาะสม ท าให้พบกับ
ความล าบากในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการตอบสนอง/ฟื้นฟูระบบอย่างทันท่วงที (Bangkok
Post, 2018b)
ช่องโหว่ของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย ท าให้ที่ผ่านมา ไทยเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
มาเป็นระยะ โดยเฉพาะการเรียกค่าไถ่ (ransomware) และการโจรกรรมข้อมูล เช่น Cryptolocker ในปี
2013 Synolocker ในปี 2014 Armada Collective ในปี 2015 Locky ในปี 2016 WannaCry ในปี 2017
โดยมีการเรียกค่าไถ่ตั้งแต่ 4,000-60,000 บาท/ครั้ง รวมทั้งในปี 2018 ธนาคารกสิกรไทยและกรุงไทยถูก
โจรกรรมข้อมูลรวมกันกว่า 123,000 ราย โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า ข้อมูลที่ถูก
ขโมยส่วนใหญ่เป็นข้อมูลของลูกค้ารายย่อยที่สมัครสินเชื่อผ่านระบบออนไลน์ ขณะที่กรรมการผู้จัดการ
ธนาคารกสิกรไทยเผยว่า มีรายชื่อลูกค้าประมาณ 3,000 คนที่ใช้เว็บบริการหนังสือค้ าประกันของธนาคาร แต่
เป็นเพียงข้อมูลทั่วไปไม่พบความเสียหายด้านการเงินแต่อย่างไร (ไทยรัฐออนไลน์, 2561) ตลอดจนการ
[138]