Page 159 - kpiebook62002
P. 159
อ านาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลสื่อสารของเอกชน ซึ่งสร้างความกังวลแก่ภาคธุรกิจและ
ประชาชนต่อความเป็นอิสระในการด าเนินธุรกิจและความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน โดยข้อกฎหมายที่ถูก
วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก อาทิ
มาตรา 61 ประกอบมาตรา 62 อ านาจของเจ้าหน้าที่ในการขอข้อมูลจากผู้ใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่ง
23
ระบุไว้ว่า เมื่อเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง ให้คณะกรรมการก ากับดูแลด้านความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) สั่งเจ้าหน้าที่ขอข้อมูลหรือเอกสารในการครอบครองของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการ
ด าเนินการ ตลอดจนเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดย
ได้รับอนุญาตจากผู้ครอบครองสถานที่นั้นก่อน
24
มาตรา 67 ไม่ต้องขอหมายศาลก่อนในกรณีภัยคุกคามระดับวิกฤต โดยคณะกรรมการสามารถ
มอบหมายให้เลขาธิการมีอ านาจในการด าเนินการได้ทันทีเท่าที่จ าเป็นเพื่อป้องกันหรือเยียวยาโดยไม่ต้องยื่นค า
ร้องต่อศาล แต่ต้องแจ้งศาลโดยเร็วหลังจากที่ด าเนินการไปแล้ว โดยอ านาจในการด าเนินการ ได้แก่ การเข้าถึง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง การทดสอบการท างานของคอมพิวเตอร์หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์ที่อาจเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร์ ระบบ
คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้มีส่วนของบทลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ละเมิดระเบียบ ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลที่
เกี่ยวข้องโดยมิชอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ และผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืน
หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ โดยมีโทษทั้งจ าและปรับ อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน
(2562) ได้ให้ความเห็นว่า การมีบทลงโทษเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมการสร้างความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ ควรมีการให้รางวัลแก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่พัฒนาตนเองหรือองค์กรให้มีความปลอดภัยจาก
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การลดหย่อนภาษี เป็นต้น
ทั้งนี้ ดร. ปริญญา หอมเอนก ได้วิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนจะได้รับจากกฎหมาย
ฉบับนี้ ได้แก่ 1) ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการที่โครงสร้างพื้นฐานส าคัญได้รับความเสียหายจากภัย
คุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งจะท าให้ประชาชนเสียทั้งโอกาส เวลา และทรัพย์สิน 2) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เนื่องจากที่ผ่านมาการจัดการภัยคุกคามไซเบอร์เป็นลักษณะต่างคนต่าง
ท างาน และ 3) ส่งเสริมการสร้างความตระหนักและทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เนื่องจากกฎหมาย
ฉบับนี้ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์และเรียนรู้การใช้งานอย่างปลอดภัย รวมถึง
ผลักดันการสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เพียงพอ (ประชาชาติธุรกิจ,
2562a)
23 ลักษณะภัยคุกคามไซเบอร์แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ไม่ร้ายแรง ร้ายแรง และวิกฤต โดยในระดับร้ายแรง คือ เป็นภัยคุกคามที่มุ่งโจมตีระบบ
คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือโครงสร้างพื้นฐานส าคัญทางสารสนเทศ จนไม่สามารถท างานหรือให้บริหารได้
24 ภัยคุกคามระดับวิฤต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคม
เป็นวงกว้าง ท าให้โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศล้มเหลวทั้งระบบ จนมาตรการรับมือปกติไม่สามารถแก้ไขได้ และภัยคุกคามที่กระทบต่อความ
สงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐ ซึ่งจ าเป็นต้องมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาความสงบ ระบอบการปกครอง และบูรณภาพของประเทศ
[143]