Page 164 - kpiebook62002
P. 164
เบอร์ (Experts’ Working Group Meeting on Cyber Security) ในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่า
ด้วยความมั่นคงบวกสาม (ASEAN Defense Ministerial Meeting: ADMM-Plus) และศูนย์พัฒนาขีด
ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Cybersecurity Capacity
Building Centre)
2. แผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียนปี 2020 (ASEAN ICT Master
Plan: AIM 2020) เป็นการยกระดับจากแผน AIM 2015 เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใน
โลกอนาคต ที่ทุกฝ่ายจ าเป็นต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีเป็นประโยชน์ในภาพรวม ภายใต้
วิสัยทัศน์อาเซียนสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ดิจิทัลอย่างมั่นคง ปลอดภัย ยั่งยืน และสามารถรับมือกับภัย
คุกคามได้ โดยมีการด าเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 8 ข้อ ได้แก่ การพัฒนาและการปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ
การรวมตัวและสร้างพลังของประชาชนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างนวัตกรรม การพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาทุนมนุษย์
โดย AIM 2020 ได้เพิ่มเติมยุทธศาสตร์ใหม่อีก 3 ข้อ ได้แก่ การสร้างตลาดเดียวโดยมีเทคโนโลยีเป็น
พื้นฐาน สื่อและเนื้อหารูปแบบใหม่ และความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศ ซึ่งอาเซียนหวังให้การสร้างความ
ร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างความเท่าเทียม ยกระดับการ
เข้าถึงตลาดและแหล่งทุนของประชาชนในภูมิภาค และการสร้างภูมิภาคอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีสารสานเทศ
อย่างเป็นประโยชน์และปลอดภัย เป้าหมายคือ ผลักดันอาเซียนเป็นศูนย์กลางของโลกด้าน ICT อันจะช่วย
ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
และต่อต้านการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยแผนแม่บทนี้เป็นความพยายามสร้างมาตรฐานด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศภายในภูมิภาคให้ได้ในระดับเดียวกันเพื่อปิดช่องโหว่ของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ต้องการโจมตี
ระบบคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน
3. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (AMCC) ได้รับการริเริ่มเมื่อปี 2016
โดยมีสิงคโปร์ผลักดัน ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 2 ได้มีการผลักดันให้ประเด็นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็น
วาระส าคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก ในขณะที่การหารือครั้งที่ 3 ปี 2018 ที่ประชุมได้เน้น
การพัฒนากลไกด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้เป็นไป
ในทิศทางเดียวกันในกลุ่มสมาชิกอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับแถลงการณ์ว่าด้วยความร่วมมือความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ในการประชุมสุดยอดผู้น าปี 2018
4. โครงการยกระดับความสามารถด้านไซเบอร์ของอาเซียน (ACCP) ริเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยการ
สนับสนุนของสิงคโปร์ด้วยงบประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ
ด้านไซเบอร์จากทุกภาคส่วนของอาเซียน โดยลักษณะส าคัญของโครงการนี้ ได้แก่ 1) การพัฒนาที่อยู่บน
พื้นฐานของสหวิทยาการ อันเป็นการยกระดับความสามารถในทุกมิติไม่ใช่แค่เพียงด้านเทคนิคเท่านั้น 2)
ความจ าเพาะและยืดหยุ่น การพัฒนาโครงการจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างของแต่
ละฝ่าย 3) ความร่วมมือพหุภาคี ให้ความส าคัญกับการสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนเจรจาด้วย 4) ร่วมมือกับผู้
[148]