Page 160 - kpiebook62002
P. 160
ส าหรับกลไกด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
1) ด้านยุทธศาสตร์และนโยบาย
1.1) คณะกรรมการ กมช. ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น หน้าที่ส าคัญของคณะกรรมการชุดนี้ คือ การเสนอ
นโยบายและจัดท าแผนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส าคัญทาง
สารสนเทศ การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ การประสานความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายในและกับต่างประเทศ เพื่อให้
บรรลุเป้าหมายของการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีคณะกรรมการ
กกม. ในการจัดท ารายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและแผนในการด าเนินงานอีกขั้นหนึ่ง
1.2) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทน าด้านการจัดท านโยบายความมั่นคง
ของไทยที่น าไปปฏิบัติใช้ทั้งภายประเทศและต่างประเทศ ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นภารกิจส่วนหนึ่ง
ของส านักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ โดยปัจจุบันได้จัดท ายุทธศาสตร์การรักษาความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 เป็นกรอบปฏิบัติหลักที่ทุกหน่วยงานต้องด าเนินการตาม
อย่างสอดคล้องตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
1.3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งขึ้นมาในปี 2016 เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการ
พัฒนาและส่งเสริมการน าเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับสังคมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากร และการสนับสนุนหน่วยงานรัฐให้เป็น digital
service โดยมีกลไกภายในสังกัดที่ส าคัญอย่างทีโอที กสท โทรคมนาคม ส านักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ
ส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่งมีแผนยุทธศาสตร์กระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2563-2567 ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม ซึ่งรวมถึงการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจน
การรับผิดชอบกองทุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อันจะเป็นเครื่องมือส าคัญในการพัฒนาความมั่นปลอดภัย
ไซเบอร์ของไทย พร้อมกันนั้นก็ส่งเสริมการพัฒนาสังคมดิจิทัลผ่านกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ที่มีอยู่ราว 1,200 ล้านบาท โดยมาจากงบประมาณแผ่นดิน เงินจัดสรรคลื่นความถี่ของส านักงานคณะกรรมการ
กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร้อยละ 15 และรายได้ของ
กสทช. อีกร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งหมด (ประชาชาติธุรกิจ, 2562b)
2) ด้านปฏิบัติการ
2.1) กสท. โทรคมนาคม เป็นองค์กรส าคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส าคัญด้านสารสนเทศและ
การยกระดับเทคโนโลยีด้านคมนาคม โดยรับผิดชอบทั้งการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียมทั้งภายในประเทศและ
ต่างประเทศ และการสื่อสารผ่านเคเบิลใยแก้วที่เชื่อมต่อไปยังทั่วโลก กสท. โทรคมนาคมยังท าหน้าที่เป็น
international gateway ส าหรับการสื่อสารระหว่างประเทศอีกด้วย เช่น การให้บริการเคเบิลใยแก้ว
ภาคพื้นดินระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขงด้วยเทคโนโลยีสัญญาณความเร็วสูง DWDM (Dense
[144]