Page 156 - kpiebook62002
P. 156
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญด้านสารสนเทศ และพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม
ในการรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยภาครัฐจะท างานร่วมกันเชิงบูรณาการทั้งระหว่าง
ภาครัฐและกับภาคเอกชน โดยจะมีหน่วยงานกลางภายใต้การก ากับของนายกรัฐมนตรีเป็นศูนย์ประสานความ
ร่วมมือ ขณะเดียวกันก็มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ
ของแต่ละหน่วยงานในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปกป้องผลประโยชน์และความมั่นคงแห่งชาติ มีการตระเตรียมข้อมูลและข่าวกรอง
เกี่ยวกับภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อน าไปสู่การสร้างแผนรับมือและปกป้องผลประโยชน์ของ
ประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัล มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการ
พัฒนาสังคมดิจิทัลร่วมกับภาครัฐ ผ่านการปรับปรุงและพัฒนายุทธศาสตร์ นโยบาย และระเบียบกฎหมายที่
เกี่ยวข้องเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างสังคมดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างความตระหนักและส่งเสริมความร่วมมือภายในประเทศในการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจะมีการร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ให้มากขึ้น ซึ่งจะมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านกลไกต่างๆ สนับสนุนการสร้างสรรค์งานวิจัย
กับหน่วยงานวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและคู่มืออันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไป
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมการใช้วัฒนธรรมไซเบอร์สเปซอย่างเหมาะสม สนับสนุนการสร้างจิตส านึกที่ดี
ในการใช้เทคโนโลยีและเท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยภาครัฐจะจัดตั้งโครงการ Cyberspace Watch ทั้ง
ในระดับชุมชนและสถาบันการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ส่งเสริมงานด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ยกระดับขีดความสามารถ
ของบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สนับสนุนเครื่องมือที่
ทันสมัยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้กับหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ต ารวจ
สากล
แผนยุทธศาสตร์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2563-2567 มียุทธศาสตร์หลัก 6
ประการ เพื่อบรรลุเป้าหมายส าคัญคือ การยกระดับสังคมและเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งด้านการสร้าง
ความเท่าเทียม การยกระดับคุณภาพชีวิต การยกระดับบริการสาธารณะ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง
การป้องกันและรับมือกับภัยทางธรรมชาติอย่างทันท่วงที ประกอบด้วย (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม, 2562)
ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการยกระดับการ
เข้าถึงข้อมูลและบริการที่เท่าเทียมของประชาชนด้วยราคาที่เป็นธรรม จึงมีตัวชี้วัด ได้แก่ การติดตั้ง
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งที่โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น การลด
ค่าบริการอินเทอร์เน็ตเหลือไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ติดตั้งโครงข่ายสื่อสาร
โทรคมนาคมหลักความจ าไม่ต่ ากว่า 10 Gbps. ในทุกเทศบาลเมือง เพิ่มปริมาณการใช้วงจรเชื่อมต่อไปยัง
[140]