Page 155 - kpiebook62002
P. 155

หลอกลวงผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในปี 2018 มีการจับกลุ่มและด าเนินคดีแก่ผู้ต้องหาเครือข่าย OD Capital

               มากกว่า 40 คน ซึ่งเข้าข่ายกระท าความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามมาตรา 4 (4) พ.ร.ก.
               การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 130 ล้าน

               บาท (ข่าวสด, 2561) นอกจากนี้ จากการรวบรวมสถิติภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ ThaiCERT

               ในปี 2018 พบว่า มีการแจ้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ 2,520 ครั้ง โดยการพยายามเจาะระบบพบมากที่สุด 1,102
               ครั้ง ตามมาด้วยการหลอกลวงทางออนไลน์ 929 ครั้ง การเจาะระบบ 335 ครั้ง และการปล่อยมัลแวร์ 127

               ครั้ง ตามล าดับ

                       ข้อมูลข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับสูง
               ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องมือสื่อสารไร้

               สาย แต่ขณะเดียวกันไทยจ าเป็นต้องพัฒนาอีกหลายด้านเพื่อเป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ

               ประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และการพัฒนา
               ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการสนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน

               ภายในประเทศและกระชับความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วน อย่างไรก็ดี ไทยมีการจัดท ายุทธศาสตร์และ

               แผนปฏิบัติเพื่อจัดการกับความท้าทายดังกล่าวแล้ว ตลอดจนการมีกลไกที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์
               จนถึงระดับปฏิบัติการ ถือได้ว่าไทยมีกรอบ/แนวทางด าเนินการและเครื่องมือในการขับเคลื่อนการยกระดับขีด

               ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ดียิ่งขึ้น


               ยุทธศาสตร์ กฎหมาย และกลไกด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

                       ไทยมียุทธศาสตร์และแผนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ส าคัญ คือ ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคง

               ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ที่จัดท าโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแผนยุทธศาสตร์
               กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2563-2567 ซึ่งเป็นระเบียบพื้นฐานที่หน่วยงานต่างๆ จะต้อง

               ด าเนินนโยบายและแผนงานไปในทิศทางของระเบียบข้างต้นตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซ

               เบอร์ พ.ศ. 2562
                       ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 เป็นนโยบายระดับชาติ

               ฉบับแรกที่มุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเตรียมพร้อม

               รับปัจจัยเสี่ยงจากการก้าวสู่การเป็นสังคมดิจิทัล ผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน พัฒนา
               บุคลากรให้เกิดความเชี่ยวชาญ สร้างความตระหนักในการใช้ไซเบอร์สเปซอย่างมีความรับผิดชอบ ส่งเสริม

               แนวทางป้องกันและปราบปราม และยกระดับบทบาทของไทยบนเวทีระหว่างประเทศ โดยยุทธศาสตร์ความ

               มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบ่งออกเป็น 8 ยุทธศาสตร์พอสังเขป ดังนี้ (ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2561)
                       ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในทุกภาคส่วนต่อการด าเนินกิจกรรมทางไซเบอร์

               ทุกรูปแบบ โดยภาครัฐจะก าหนดนโยบายและกลไกที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ภาคธุรกิจมี

               ความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโลกไซเบอร์




                                                          [139]
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160