Page 157 - kpiebook62002
P. 157

ประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 เท่า ก่อสร้าง Digital Park Thailand จัดตั้งสถาบัน IoT และยกระดับความสามารถ

               ด้านการแข่งขันด้านโครงสร้างเทคโนโลยีในการจัดอันดับของ IMD ให้อยู่ไม่ต่ ากว่าอันดับ 29 ภายในปี 2024
                       ยุทธศาสตร์ที่สอง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล มี

               ตัวชี้วัดคือ การเพิ่มมูลค่า e-commerce ร้อยละ 10 ทุกปี การเพิ่มจ านวน digital start-up และ SMEs ให้ได้

               3,000 รายภายใน 5 ปี และส่งเสริมการลงทุนใน Digital Park Thailand
                       ยุทธศาสตร์ที่สาม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีตัวชี้วัดคือ ประชาชนมี

               การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 ภายใน 5 ปี รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการร้อยละ 5

               สามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์ดังกล่าวด้วย ตลอดจนประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้าน
               คมนาคม นอกจากนี้ การพัฒนา smart city ก็เป็นตัวชี้วัดถึงความส าเร็จของการยกระดับสังคมดิจิทัลของ

               ประเทศ โดยตั้งเป้าให้มี 10 เมืองที่น าเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดการกับปัญหาที่มีอยู่

                       ยุทธศาสตร์ที่สี่ ส่งเสริมการให้บริการแก่ประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในรูปแบบดิจิทัล มีตัวชี้วัด
               คือ การให้บริการแบบ smart service ของหน่วยงานรัฐโดยตั้งเป้า 15 หน่วยบริการภายใน 5 ปี การบริการ

               ข้อมูลสถิติของภาครัฐผ่านหน่วยงานกลางด้านสถิติ ความแม่นย าของการพยากรณ์อากาศ และความส าเร็จใน

               การแจ้งเตือน/ข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิ
                       ยุทธศาสตร์ที่ห้า พัฒนาก าลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ได้ตั้งเป้าเพิ่มจ านวนก าลังคนด้านดิจิทัลในทุก

                                                    22
               สาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องให้ได้ 800,000 คน  ภายใน 5 ปี จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 25,000 คนในปี 2017
               อย่างไรก็ดี แผนปฏิบัติการของกระทรวง DE และแผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตั้งเป้าอยู่ที่ 500,000
               คนภายในปี 2021

                       ในประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัล พบว่า มีหน่วยงานรัฐและเอกชนเพียงครึ่งเดียวที่มี

               ความพร้อมด้านบุคลากรในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ และร้อยละ 75 มีข้อจ ากัดในการสร้างแรงจูงใจให้
               บุคลากรพัฒนาตนเอง สอดลคล้องกับข้อมูลของสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) ที่พบว่า

               จ านวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในไทยนั้นน้อยกว่า 2,000 คน และจากการส ารวจความ

               ต้องการบุคคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ สพธอ. ในปี 2018 พบว่า เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านความ
               มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นต าแหน่งที่มีความต้องการมากที่สุด ตามมาด้วยนักวิเคราะห์ความเสี่ยง เจ้าหน้าที่

               ตรวจสอบระบบสารสนเทศ วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นักวิเคราะห์อาชญากรรมทางไซเบอร์ และ

               นักวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามล าดับ
                       ยุทธศาสตร์ที่หก สร้างและส่งเสริมความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีตัวชี้วัดคือ การจัดท า

               นโยบายและระเบียบที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ได้ 25 เรื่องภายใน 5 ปี

               อัตราความส าเร็จในการป้องกันและสร้างความยุติธรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลร้อยละ 93 การป้องกันและระงับ
               ภัยคุกคามรุนแรงภายใน 1 ชม. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 และอัตราความเชื่อมั่นในการใช้งานอินเทอร์เน็ต




               22  ก าลังคนด้านดิจิทัลหมายรวมถึงทั้งบุคลากรด้าน IT และอาชีพอื่น ให้มีทักษะที่จ าเป็นส าหรับการพัฒนาสังคมดิจิทัล


                                                          [141]
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162