Page 136 - kpiebook62002
P. 136

3.5 แนวปฏิบัติจากต่างประเทศ



                       หากมองถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีในเรื่องของการแก้ปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกตินั้น ประเทศกลุ่ม
               ลาตินอเมริกาเป็นแบบตัวอย่างที่ดีในการสร้างระบบและกฎหมายในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง

               เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในแถบอาเซียนเองที่ยังคงมีความก้าวหน้าในด้านดังกล่าวน้อยกว่า ในส่วนนี้มุ่ง

               น าเสนอพัฒนาการของระบบในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติซึ่งรวมถึงผู้ลี้ภัยในลาตินอเมริกาตั้งแต่
               (1) อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (Convention Relating to the Status of Refugees) ค.ศ. 1951

               (2) ปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย (Cartagena Declaration on Refugees) ค.ศ. 1984 (3) ปฏิญญา

               ซันโฮเซว่าด้วยผู้ลี้ภัยและผู้ผลัดถิ่น (San José Declaration on Refugees and Displaced Persons) ค.ศ.
               1994 (4) ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเม็กซิโกเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองระหว่างประเทศของผู้ลี้ภัยในลาติน

               อเมริกา (Mexico Declaration and Plan of Action to Strengthen the International Protection of

               Refugees in Latin America) ค.ศ. 2004 และ (5) ปฏิญญาบราซิเลียว่าด้วยการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้
               รัฐในอเมริกา (Brasilia Declaration on the Protection of Refugees and Stateless Persons in the

               Americas) ค.ศ. 2010


                       1.  อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (Convention Relating to the Status of Refugees)

                          ค.ศ. 1951

                          อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (Convention Relating to the Status of Refugees) ค.ศ.
               1951 เป็นเครื่องมือที่มั่นคงในการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายกับผู้ลี้ภัยทั่วโลกซึ่งมีต้นก าเนิดจาก

               คณะกรรมการเฉพาะกิจว่าด้วยผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้รัฐ (Ad Hoc Committee on Refugees and Stateless

               Persons) แต่งตั้งโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) ตามข้อมติที่ 248 ลงวันที่
               8 สิงหาคม 1949 ซึ่งก่อตั้ง UNHCR ขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 1951 เครื่องมือทางกฎหมายอย่างอนุสัญญาว่า

               ด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยนี้สร้างกฎเกณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยและให้การคุ้มครอง

               ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยมี UNHCR พิจารณาตรวจสอบสิทธิของผู้ลี้ภัยทุกคนที่แสวงหาที่ลี้ภัยหรือ
               ต้องการลี้ภัยในรัฐอื่น หรือการกลับประเทศโดยสมัครใจ อนุสัญญานี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้

               ภัย โดยในหมวดที่ 3 ให้นิยามว่า “ผู้ลี้ภัยคือใคร” ในหมวดที่ 5 และ 6 กล่าวถึงสถานะรวมถึงมาตรการขั้นต่ า

               ในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยภายใต้นิยามดังกล่าว (Barichello, 2015, pp. 151–153)
                       ลาตินอเมริกาพยายามใช้นโยบายในภูมิภาคเพื่อลดจุดอ่อนและความไม่สมบูรณ์ของอนุสัญญาฯ ใน

               การจัดการกับบริบทเรื่องการย้ายถิ่นและการถูกบังคับให้ย้ายถิ่น พัฒนานโยบายในระดับภูมิภาคเพื่อคุ้มครองผู้

               ลี้ภัยผ่านการพัฒนากฎเกณฑ์และสถาบันซึ่งใช้เวลาต่อมีอีก 30 กว่าปีในปี 1984 จึงได้ใช้ค าปฏิญญาคาร์ตาเฮ
               นาว่าด้วยผู้ลี้ภัย






                                                          [120]
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141